ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของเยาวชน กรณีศึกษา โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
Development of participatory waste management model for youth. A Case study of Soemngamwithayakhom school, Soemngam District, Lampang province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ปวีณา งามประภาสม
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบและเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการจัดการขยะของเยาวชนในโรงเรียน 2. เพื่อให้เกิดกิจกรรมในการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมในโรงเรียนต้นแบบที่ช่วยลดปริมาณขยะและภาระในการจัดเก็บขยะของเทศบาลตำบลเสริมงาม
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,การคัดแยกขยะ,โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม
บทคัดย่อย
การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อพัฒนารูปแบบและเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการจัดการขยะของเยาวชนในโรงเรียนโดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักเรียนโรงเรียนเสริมงามวิทยาคม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบบังเอิญในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพบริบททั่วไปของพื้นที่ ความรู้ความเข้าใจ สภาพปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการ ปัญหาขยะที่เกิดขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม มีแนวนโยบายด้านการจัดการขยะภายในโรงเรียน ได้แก่ 1.1) กำหนดให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 1.2) สร้างเครือข่ายการจัดการขยะ 1.3) จัดกิจกรรมระหว่างชุมชนกับโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาขยะ 1.4) นโยบายการใช้แก้วน้ำที่สามารถนำไปใช้ซ้ำได้ 2) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะโดยตอบคำถามถูกร้อยละ 73.4 และตอบผิดร้อยละ 26.6 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการจัดการขยะเนื่องจากการขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะ การทิ้งขยะที่ไม่เป็นระเบียบและปัญหาการจัดการขยะที่ผิดวิธี เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ปัญหาจำนวนขยะที่มีมากเกินไป และปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมตามลำดับ ส่วนข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาคือ การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการจัดประกวดขยะสร้างสรรค์
เอกสารงานวิจัย
  1. ปกนอก
  2. ปกใน
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. บทที่ 1
  5. บทที่ 2
  6. บทที่ 3
  7. บทที่ 4
  8. บทที่ 5
  9. บรรณานุกรม
  10. ภาคผนวก
  11. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ