$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การพัฒนาเตาไพโรไลซีสต้นทุนต่ำเพื่อการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกทั่วไป ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
The Development of Low Cost Pyrolysis Plant for Oil Refinery Produced from Plastic wastes
ในการดารงชีวิตในปัจจุบันที่ประกอบพร้อมไปด้วยสิ่งอานวยความสะดวกสบายในรูปแบบต่างๆ อยู่รอบตัวเราอย่างมากมาย ประกอบกับการเพิ่มจานวนของประชากรในประเทศต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมานั่นก็คือปัญหาของประมาณขยะที่เกิดจากการบริโภคอุปโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีเพิ่มตามจานวนประชากร และจากผลการวิจัยในวารสาร Science Advances ระบุว่ามีผลการสารวจในปี พ.ศ. 2558 มนุษย์เราได้สร้างพลาสติกขึ้นมาประมาณ 8.3 พันล้านตัน และมี 6.3 พันล้านตันที่ได้กลายมาเป็นขยะ โดยมีร้อยละ 9 ที่ถูกนาไปรีไซเคิลได้ ร้อยละ 12 ถูกนาไปกาจัดโดยการเผา และร้อยละ 79 ถูกนาไปกาจัดโดยการนาไปฝังกลบ ดังนั้นแนวทางในการกาจัดขยะพลาสติกเพื่อการแปรรูปเป็นพลังงาน ผู้วิจัยได้เลือกกระบวนการไพโรไลซิส ซึ่งเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนก๊าซให้เป็นผลิตภัณฑ์น้ามัน มาใช้ในกระบวนการกาจัดขยะพลาสติก และผลจากกระบวนการดังกล่าวจะได้น้ามันเชื้อเพลิงและลดปริมาณขยะพลาสติกลง โดยในการผลิตน้ามันดิบจากขยะพลาสติก ด้วยกระบวนการไพโรไลซิส ในงานวิจัยนี้ จะพิจารณาเลือกพลาสติกประเภทพอลิโพพีลีน (Polypropylene: PP) และพลาสติกประเภทโฟม (Polystyrene : PS) เมื่อทาการสกัดน้ามันดิบไพโรไลซิสจากกระบวนการการทดลองผลิตที่ได้ ก็จะนามาวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของน้ามันไพโรไลซิสจากพลาสติก ชนิด PP และ น้ามันไพโรไลซิสจากโฟม ชนิด PS พบว่า น้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากพลาสติกชนิด PP จะมีจุดวาบไฟที่ 14 oC มีค่าความร้อนจากการเผาไหม้ที่ 46.134 MJ/kg และน้ามันไพโรไลซิสที่สกัดได้จากโฟม ชนิด PS มีจุดวาบไฟที่ 35 oC มีค่าความร้อนจากการเผาไหม้ที่ 41.436 MJ/kg และสามารถนาไปเปรียบเทียบกับค่าจุดวาบไฟของน้ามันก๊าดอยู่ระหว่าง 35 oC ถึง 65 oC ค่าความร้อนจากการเผาไหม้แบบกรอส (High Heating Value) ของน้ามันก๊าดอยู่ที่ 46.2 MJ/kg
กระบวนการไพโรไลซิส, น้ามันไพโรไลซิส, พอลิโพรไพลีน (PP) และพอลิสไตรีน (PS)