$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
รูปแบบการการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลสันทรายงาม จังหวัดเชียงราย
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนเทศบาล ตาบลสันทรายงาม จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มสวัสดิการชุมชนโดยการ มี ส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตาบลสันทรายงาม จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตาบล สันทรายงาม จังหวัดเชียงราย จากการศึกษาพบว่ากลุ่มสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตาบลสันทรายงาม จังหวัดเชียงราย พบว่า มีกองทุนสวัสดิการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการรวม 11 กลุ่ม กลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นจาก การที่ผู้นาชุมชน ได้แก่ สภาเทศบาล ซึ่งกลุ่มสวัสดิการที่ได้ศึกษาสามารถช่วยเหลือสวัสดิการแก่ ประชาชนในด้านต่าง ๆ ภายในชุมชนได้ โดยเฉพาะเงินทุนสาหรับดาเนินชีวิตประจาวัน และใช้ใน การประกอบอาชีพ กลุ่มมีแนวคิดร่วมกันคือประชาชนดาเนินการบริหารจัดการกองทุนเอง โดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรหลัก (Key Actor) ในการสนับสนุนให้การจัดตั้งกลุ่มสวัสดิการ ในพื้นที่ กระบวนการสร้างและพัฒนาให้กลุ่มเข็มแข็งมีดังนี้ สมาชิกกลุ่มที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยที่ ช่วยควบคุมและบริหารกันเอง จากการศึกษาปัญหาที่พบคือปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขสาหรับการบริหาร จัดการต่อกลุ่ม คือ การเพิ่มทักษะการบริหารจัดการให้กับคณะกรรมการกลุ่มสวัสดิการ เช่น ทักษะ การบริหารจัดการ ระบบสารบัญ การส่งต่องาน และคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น จากการศึกษากลุ่มสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตาบลเม็งราย จังหวัดเชียงรายพบว่า มี กองทุนสวัสดิการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการรวม 14 กลุ่ม เกิดขึ้นจากการที่ผู้นาชุมชน เช่นเดียวกันกับเทศบาลตาบลสันทรายงาม แต่มีตัวอย่างกลุ่มสวัสดิการในตาบลเม็งรายที่มีการ บริหารจัดการที่ดีที่มีภาคีการบริหารจัดการร่วมระหว่างประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงราย โดยแต่ละกลุ่มมีมาตรการการวาง กฎระเบียบร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการและสมาชิกและมีการชี้แจงกฎระเบียบให้สมาชิกได้รับ ทราบอย่างทั่วถึงเพื่อถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเคร่งครัด และการยึดหลักธรรมาภิบาลของสมาชิก คือ หลักความรับผิดชอบที่จะชาระเงินกู้ยืมจากกองทุน แต่ทางกลุ่มก็ยังขาดระบบการบริหารจัดการโดย คณะวิจัยได้เข้าไปเร่งแก้ไขสาหรับการบริหารจัดการกลุ่มสวัสดิการสังคมในชุมชนเทศบาลตาบลเม็ง ราย คือ การเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการให้กับคณะกรรมการกลุ่มสวัสดิการ ได้แก่ ทักษะการ บริหารจัดการ ระบบสารบัญ การส่งต่องาน และคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยสรุปผู้วิจัยได้เข้าไปเร่งแก้ไข้ปัญหาในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพแกนนาในพื้นที่เพื่อการ บริหารจัดกานที่ดีของกลุ่มสวัสดิการในพื้นที่ เทศบาลตาบลสันทรายงาม เทศบาลตาบลเม็งรายจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตาบลบ่อเกลือเหนือ และองค์การบริหารส่วนตาบลไชยวัฒนา จังหวัดน่าน โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของพื้นที่ เพื่อนาไปสู่การพัฒนาเครือข่าย ในแต่ละ พื้นที่มีข้อจากัดที่ต่างกันโดยพื้นที่ที่มีข้อจากัดคือ องค์การบริหารส่วนตาบลบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เนื่องจากมีข้อจากัดในการเข้าถึงพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น สภาพภูมิศาสตร์ในพื้นที่ ชาติพันธ์ จึงทาให้เป็น ข้อจากัดในการพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการร่วมกับองค์กรอื่น ๆ พื้นที่ เทศบาลตาบลสันทรายงาม เทศบาลตาบลเม็งราย จังหวัดเชียงราย และองค์การบริหารส่วนตาบลไชยวัฒนา จังหวัดน่าน เริ่ม มีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่มสวัสดิการ แต่ยังขาดการสร้างข้อตกลงร่วมกัน โดยในพื้นที่ยังมีการถูกเอาเปรียบจากภาคเอกชนในการบริหารจัดการเพราะชุมชนต้องมีการเสีย ดอกเบี้ยให้กับภาคเอกชนที่เข้ามายื่นข้อเสนอให้กับกลุ่มสวัสดิการ ซึ่งกลุ่มใน 3 พื้นที่มีการบริหาร จัดการที่ดีแต้ยังขาดทักษะการบริหารจัดการในรูปแบบเครือข่ายที่ชัดเจน
รูปแบบการการพัฒนาศักยภาพ