$endsection URU Research

รายงานวิจัย

ทุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน
2553
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการสืบทอดและพัฒนาภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะของเครือข่ายสถานศึกษาและองค์กรท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสืบทอดและพัฒนาภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะของเครือข่ายสถานศึกษาและองค์กรท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การดำเนินงานมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1การศึกษาสถานภาพ ศักยภาพ สถานการณ์ปัญหาและภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 การปฏิบัติตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะของเครือข่ายสถานศึกษาและองค์กรท้องถิ่น โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการจัดการความรู้จากประสบการณ์ความสำเร็จ ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งสังเคราะห์บทเรียนและปัจจัยความสำเร็จเพื่อการต่อยอดขยายผล ผลการวิจัยโดยสรุปช่วยให้ได้ผลการดำเนินการ 2 ส่วน ส่วนแรกได้แก่ ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสืบทอดและพัฒนาภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะกับผลการสังเคราะห์องค์ความรู้และบทเรียนจากการดำเนินงาน ในส่วนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีผลการดำเนินการจำแนกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วยการศึกษาสถานภาพศักยภาพฐานข้อมูล แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา สถานการณ์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ 2) ขั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีวงจรการเรียนรู้เป็น 4 องค์ประกอบที่เรียกว่า PICN Model ได้แก่ 2.1) ออกแบบการสืบทอดภูมิปัญญาแบบมีส่วนร่วม (Participatory Plan : P) 2.2) ปฏิบัติงานแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Integrated Act : I) 3) สื่อสารประสบการณ์เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะ (Communicated Experience : C) 2.4) สานพลังเครือข่ายเรียนรู้และการทำงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Network : N) และ 3) ขั้นพัฒนาเครือข่ายยกระดับคุณภาพต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการจัดการความรู้และวิจัยชุมชน ที่มีกลไกเชิงระบบเชื่อมงานประกันคุณภาพขององค์กรขับเคลื่อนโดยเครือข่ายสถานศึกษากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคีอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลการวิจัย ส่วนที่สอง ได้แก่ ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้และบทเรียนจากการดำเนินงาน ซึ่งมีข้อค้นพบโดยสรุปคือ 1) องค์ความรู้และนวัตกรรมจากผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายสถานศึกษาและองค์กรภาคีซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการสืบทอดพัฒนาภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรม 2) บทเรียนจากการดำเนินงานและปัจจัยความสำเร็จ