ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการติดตามประเมินเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ ของตาบลเจดีย์ จังหวัดน่าน และภาคีพื้นที่ภาคเหนือ
Forms of power management monitoring, assessment, community organizations, their own health, creative. The blind's lachedi province and Northern leagues.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาสถานภาพ และแนวทางพัฒนารูปแบบการติดตามประเมินเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเอง เพื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคี 2 เพื่อพัฒนา รูปแบบ ตัวชี้วัดและเกณฑ์การติดตามประเมินเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเอง เพื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคี 3 เพื่อทดลองใช้รูปแบบการติดตามประเมินเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเอง เพื่อสุขภาวะ เชิงสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคี 4 เพื่อสังเคราะห์ องค์ความรู้ นวัตกรรม กระบวนการดาเนินงาน และข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ได้จากการติดตามประเมินเสริมพลัง
คำสำคัญ
สุขภาวะ
บทคัดย่อย
อบต.เจดีย์ชัยเป็นศูนย์จัดการเครือข่ายตาบลสุขภาวะที่มีการพัฒนางานต่างๆ และหาแนวทางในการจัดการปัญหาในพื้นที่ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามให้การพัฒนาตาบลอย่างต่อเนื่องและได้ค้นหาทุนและศักยภาพของตาบลด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบเร่งด่วน (RECAP) จนเกิดเป็นระบบการขับเคลื่อนตาบลสุขภาวะที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายตาบลสุขภาวะทั้งภายในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตาบลเจดีย์ชัยและในพื้นที่ของตาบลเครือข่าย จากข้อมูล TCNAP พบว่า ปัญหาและการเจ็บป่วย ในตาบลเจดีย์ชัยที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงจากการทางาน คิดเป็นร้อยล่ะ 62 ของจานวนประชากรทั้งหมด ซึ่งสาเหตุที่ทาให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงสูงสุดอันดับแรก ได้แก่ การกินอาหารสุกๆ ดิบๆ คิดเป็นร้อยล่ะ 40.12 ของประชาชนทั้งหมด อบต.เจดีชัย์ มีบทบาทในการจัดบริการสาธารณสุขให้ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ และได้รับการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค แต่จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ พบว่า มีการประเมินการดาเนินงานเพื่อสุขภาวะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เป็นการประเมินที่เน้นการประเมินเฉพาะผลลัพธ์ ไม่ได้ทาการประเมินทั้งระบบ อีกทั้งประเมินเมื่อดาเนินโครงการเสร็จสิ้น ไม่ได้ประเมินตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง จึงทาให้ได้สารสนเทศที่ไม่ครอบคลุม ไม่สามารถนาไปใช้เพื่อการพัฒนายกระดับคุณภาพการดาเนินงานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงต้องสร้างรูปแบบการประเมินขึ้นมาให้สอดคล้องกับสถานภาพ ปัญหา และความต้องการ โดยเป็นการประเมินเสริมพลังเพื่อมุ่งเน้นให้บุคคล หรือผู้เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชนได้มีส่วนร่วม มีการพัฒนาตนเอง และปรับปรุงการดาเนินงานด้านสุขภาวะอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการจัดการชุมชนและจัดความสัมพันธ์กับภาคี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนไปในทางบวก และเกิดนวัตกรรมองค์ความรู้ ชุดความรู้และบทเรียนจากการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาวะ อันนาไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
เอกสารงานวิจัย
  1. รูปแบบการติดตามประเมินเสริมพลังองค์กรชุมชน เจดีย์ชัย
  2. บทสรุป
  3. ปกบทคัดย่อและสารบัญ
  4. บทที่ 1
  5. บทที่ 2
  6. บทที่ 3
  7. บทที่ 4
  8. บทที่ 5
  9. บรรณานุกรม
  10. ภาคผนวก 1
  11. ภาคผนวก 2

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ