ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ศึกษาปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางการ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามบริบทของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Problems,Needs and Guidelines for Community Welfare To Carring Elderly Person : A Case Study of Phagkhae, Muang, Sukhothai Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ ใจฉลาด
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ ดร.พรทิพย์ ครามจันทึก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชญานิษฐ์ ศศิวิมล
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาปัญหาดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 2 เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 3 เพื่อศึกษาแนวทางการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามบริบทของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ, ปัญหา, ความต้องการจำเป็น ,แนวทางการดำรงชีวิต
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ดำเนินงานโดยคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุ จำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาปัญหาการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหา 1) ด้านการดูแลเกี่ยวกับบุคคลที่พึ่งพาและดูแลอย่างใกล้ชิด 2) ด้านการดูแลเกี่ยวกับอาหาร 3) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกาย 4) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการขับถ่าย 5) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน 6) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการติดเชื้อและโรคประจำตัว 7) ด้านการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพจิตใจ 8) ด้านการดูแลเกี่ยวกับสภาพและสิ่งแวดล้อม 9) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติหรือคนดูแล 10) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการจัดให้มีสวัสดิการให้ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง 11) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการจัดให้มีสวัสดิการให้แก่อาสาสมัครที่ไปเฝ้าดูแลและบริบาลผู้สูงอายุ 12) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมไม่สอดคล้องกับอายุในแต่ละช่วงของผู้สูงอายุ 13) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการฝึกอบรมทักษะทางวิชาชีพให้กับอาสาสมัครที่ไปเฝ้าดูแลและบริบาลผู้สูงอายุ 14) ด้านการดูแลเกี่ยวกับครอบครัวและลูกหลานขาดความตระหนักจิตสำนึกในการดูแลผู้สูงอายุ 15) ด้านการดูแลเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุก่อนจะให้สิ่งของมาสร้างอาชีพ 2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการในการดำรงชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการสอบถามความจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุใน พบว่า ผู้สูงอายุมีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ผลการศึกษาแนวทางการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีข้อเสนอแนวทางการดำรงชีวิต ดังนี้ 3.1) จัดเป็นชมรมผู้สูงอายุให้เกิดความเข้มแข็ง 3.2) เน้นการจัดกิจกรรมเชิงศาสนา 3.3) เน้นกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสร้างและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้พบปะเข้าสังเคราะห์กับกลุ่มผู้สูงอายุ 3.4) เน้นกิจกรรมที่ลดภาวการณ์ซึมเศร้าเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง 3.4) หาวิธีการเชิญชวนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน 3.5) ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุและมีการจัดกิจกรรในแต่ละเดือนที่มีความหลากหลายและไม่จำกัดจำนวนของผู้สูงอายุ 3.6) จัดสวัสดิการให้ผู้ป่วย ให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยและอาสาสมัครในหมู่บ้าน 3.7) จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุให้เต็มที่ 3.8) จัดหาอาชีพให้อาสาสมัครในหมู่บ้านที่เฝ้าดูแลผู้สูงอายุ 3.9) ดูแลเรื่องสุขภาพจิตให้แก่อาสาสมัครในหมู่บ้านที่เฝ้าดูแลผู้สูงอายุ 3.10) สร้างความตระหนักให้กับครอบครัวและสร้างจิตสำนึกให้กับลูกหลานให้ความร่วมมือในการดูแลผู้สูงอายุ 3.11) ให้ความรู้ก่อนจะให้สิ่งของมาสร้างอาชีพ เช่นวิธีการเลี้ยงไก่ 3.12) จัดเครื่องมือทางการแพทย์ต้องให้ได้มาตรฐาน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. สารบัญ
  5. บทที่ 1
  6. บทที่ 2
  7. บทที่ 3
  8. บทที่ 4
  9. บทที่ 5
  10. บรรณานุกรม
  11. ประวัตินักวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ