ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็กและเยาวชน แบบมีส่วนร่วม ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
A Learning Activity Perspective on Social Immunity of Children and Youth Participation in Tambon Nontan, Amphur Nong Ruea, Khon Kaen Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์อนุภูมิ คำยัง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาถึงบริบทของสังคม กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและปัจจัยเสี่ยงทาง สังคมของเด็กและเยาวชน 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็ก และเยาวชนแบบมีส่วนร่วม 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการ
คำสำคัญ
ภูมิคุ้มกันทางสังคม หมายถึง ความสามารถของบุคคลอันประประกอบไปด้วยการ สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ทั้งการเรียนรู้ การปรับตัว มีทักษะการใช้ชีวิตทั้งกับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เข้าใจและรู้เท่าทันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม อีกทั้งรู้จักเตรียมความพร้อมในการป้องกันและจัดการกับตัวเอง จากสิ่งที่ท้าให้เกิดปัญหาเพื่อปรับตัวให้สามารถเรียนรู้ เลือกสรร ประเมิน แยกแยะ คุณค่าและใช้ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ และสามารถน้าความรู้มาประยุกต์ใช้ในการด้าเนินชีวิตในปัจจุบันและ อนาคตได้อย่างมีคุณภาพ ,รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็กและเยาวชน หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมหลักร่วมกับการประยุกต์ ทฤษฏีจิตวิทยาการเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative) แนวคิดจิตวิทยากลุ่ม มนุษย์นิยมของ Carl Rogers แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองตาม ทฤษฏีปัญญาสังคมของ Albert Bandura ทฤษฏีต้นไม้จริยธรรม ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg และการให้บริการปรึกษาตามทฤษฏีแบบเน้นทางออกระยะสั้นของ De Shaze เพื่อสร้าง ภูมิคุ้มกันทางสังคมให้แก่เด็กและเด็กและเยาวชนตามปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่พบในชุมชน ซึ่งประกอบ ไปด้วยการพัฒนา ใน 4 ด้าน ได้แก่ ภูมิรู้ หมายถึง ภูมิความรู้ความเข้าใจของเด็กและเยาวชน เรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันทาง สังคมตามรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งวัดได้จากการวัดความรู้ความเข้าใจภูมิคุ้มกันทางสังคม ภูมิจิต หมายถึง ภูมิคุ้มกันทางจิตใจของเด็กและเยาวชนที่ประกอบด้วย การรับรู้ ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความสุข ความเชื่ออ้านาจในตนเอง เจตคติและค่านิยม ความหยุ่นตัว (ความสามารถในการฟื้นฟูตนเองให้กลับมาเหมือนเดิม/รักษาสมดุล/การจัดการ/การ ปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความหวัง ลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตน ภูมิธรรม หมายถึง ภูมิคุ้มกันทางคุณธรรมจริยธรรม (เหตุผลเชิงจริยธรรม) ซึ่งวัดได้จากการ สัมภาษณ์ถึงเหตุผลที่มีต่อสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ภูมิท้า หมายถึง ภูมิคุ้มกันทางด้านการปฏิบัติ (เหตุผลเชิงจริยธรรม) ซึ่งวัดได้จากการสังเกต พฤติกรรม ,เด็กและเยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
บทคัดย่อย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบริบทของเด็กและเยาวชน กระบวนการมีส่วน ร่วม และปัจจัยเสี่ยงของเยาวชนในการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางสังคม เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็กและเยาวชนแบบมี ส่วนร่วม และ เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็ก และเยาวชนแบบมีส่วนร่วมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกระบวนการ สนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก คือ ผู้น าชุมชน 3 คน ผู้ปกครองเยาวชน 3 คน และผู้น าเยาวชน 3 คน รวม 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองกิจกรรม คือ เด็กและเยาวชน จ านวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง (Stake Holders) การสังเกตแบบมี ส่วนร่วม (Participation Observation) แบบสอบถาม (Questionnaires) แบบทดสอบ (Test) และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเชิงส ารวจ การวิจัยเชิงทดลองและการวิจัย เชิงพัฒนา โดยใช้วงจร PAOR ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูมีความ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปถึงสถานการณ์ความเสี่ยงทางสังคมของเด็กและเยาวชนในต าบลโนนทัน อ าเภอ หนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงทางสังคมของเด็กและเยาวชน ดังนี้ การใช้สื่อ ออนไลน์ในทางสร้างสรรค์ การติดเกม การติดยาเสพติด การมั่วสุมดื่มสุรา การแข่งรถจักรยานยนต์ การทะเลาะวิวาท การติดโทรศัพท์มือถือ การทะเลาะกันเรื่องผู้ชายและท้องวัยใส ชุมชนและท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงความส าคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้แก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งจาก การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็กและเยาวชนต้นแบบ ต าบลโนนทัน อ าเภอ หนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.93, S = 0.57) ในรายด้านพบว่า ภูมิคุ้มกันทางสังคมในทุก ๆ ด้านอยู่ในระดับดี โดยภูมิคุ้มกันด้านโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.07, S = 0.69) และภูมิคุ้มกันทางสังคมด้านตนเองมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.82, S = 0.62) จะ เห็นได้ว่าโรงเรียนเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันทางสังคมได้ดีที่สุด ให้ผู้วิจัยจึงมี การด าเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนดังนี้ 1) การจัดค่ายครอบครัวอบอุ่น และ 2) การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนที่มีกิจกรรมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้น าเด็กและ เยาวชนอย่างสม่ าเสมอ จึงพบว่าเป็นจุดแข็งของชุมชนที่มีตัวแบบของเด็กและเยาวชนที่ดีและมี องค์การบริหารส่วนต าบลที่ให้การสนับสนุน แต่พบจุดด้อยในเรื่องการด าเนินงานอย่างต่อเนื่องอัน เนื่องจากข้อจ ากัดด้านงบประมาณ อีกทั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นขาดความน่าสนใจไม่สามารถดึงดูดให้เด็ก และเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มที่มีปัญหาเข้ามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาได้จริง 2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของ เด็กและเยาวชนพัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดังนี้ 1. ขั้นร่วมวางแผน : P : การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างด้วยการสนทนากลุ่มผู้ที่มี ผลประโยชน์ จ านวน 9 คน ได้แก่ ผู้น าชุมชน 3 คน ผู้ปกครอง 3 คน ผู้น าเด็กและเยาวชน 3 คน เพื่อ สรุปบริบทของชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและปัจจัยเสี่ยงทางสังคมของเด็กและเยาวชน ร่วมกับการวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็กและเยาวชน 2. ขั้นร่วมลงมือปฏิบัติ : A : พัฒนารูปแบบภูมิคุ้มกันทางสังคมอย่างมีส่วนร่วมขึ้นจากข้อมูลที่ได้ในขั้น P โดยน ารูปแบบที่ได้มา ทดลองใช้กับเด็กและเยาวชนต้นแบบ จ านวน 70 คน (วัดความเข้าใจภูมิคุ้มกันทางสังคมก่อนการ ทดลอง : ภูมิรู้) ได้รูปแบบจตุรภูมิ (ภูมิรู้ ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิท า) 3. ขั้นร่วมสังเกตผล : O : คณะผู้วิจัย ตัวแทน อบต. และตัวแทนสถานศึกษา สังเกตการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กและ เยาวชน (วัดความเข้าใจภูมิคุ้มกันทางสังคมหลังการทดอง (ภูมิรู้) การสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม (วัด ภูมิจิตและภูมิท า) การสัมภาษณ์การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมสถานการณ์ความเสี่ยงทางสังคม (ภูมิ ธรรม) และ 4. ขั้นร่วมสะท้อนผล : R : คณะผู้วิจัย ตัวแทนผู้น าชุมชน ตัวแทนสถานศึกษา เด็กและ เยาวชนร่วมกันสะท้อนผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค วางแผนในการแก้ไขปัญหาการ ด าเนินงานในวงรอบต่อไปและสรุปผลการเรียนรู้ 3. ค่าเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ทางสังคมของเยาวชน หลังได้รับการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ของเด็กและเยาวชนแบบมีส่วนร่วมสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ การใช้รูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเด็กและเยาวชนแบบมีส่วนร่วมช่วยให้เด็ก และเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของ เยาวชนที่เพิ่มขึ้น
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่1
  3. บทที่2
  4. บทที่3
  5. บทที่4
  6. บทที่5
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก ก
  9. ภาคผนวก ข
  10. ภาคผนวก ค
  11. ภาคผนวก ง
  12. ภาคผนวก จ
  13. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ