ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษโดยการจัดการตนเอง : เทศบาลตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Value Creation and Value Added in food in aspect of organic vegetable by self-management ofNong Tat Sub District Municipality MueangDistrict Buriram Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ขวัญนภา วงศ์ไพศาลสิริกุล
ผู้ร่วมวิจัย : นางกิติสา วงศ์คำ
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านผักปลอดสารพิษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์กระบวนการการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษ 3. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษ
คำสำคัญ
ผักปลอดสารพิษ ,การจัดการตนเอง
บทคัดย่อย
บทคัดย่อ รายงานวิจัยเรื่อง การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษโดยการจัดการตนเอง: กรณีเทศบาลตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านผักปลอดสารพิษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์กระบวนการการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษและเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มเกษตรอินทรีย์สำนักสงฆ์หนองโสน กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยรายย่อยตำบลหนองตาด ใช้เครื่องมือในการรวมรวบข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึก แบบการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัจจุบันด้านการปลูกผักปลอดสารพิษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น กรณีของฟาร์มผักสลัดคุณภู จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มเกษตรกรบ้านโคกเพชร จ.บุรีรัมย์ กลุ่มเกษตรกรบ้านสำโรง จ.สุรินทร์ กลุ่มเกษตรกรบ้านจะแกโกน จ.สุรินทร์ กลุ่มเกษตรบ้านโนนสวรรค์ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเกษตรบ้านแบกจาน จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มเกษตรกรตำบลหัวทะเล จ.นครราชสีมา กลุ่มเกษตรกรตำบลหนองบัวสันตุ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเกษตรกรบ้านแดงใหญ่จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเกษตรกรอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น และ มณฑลทหารบกที่26 จังหวัดบุรีรัมย์ 2) การวิเคราะห์และสังเคราะห์กระบวนการการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษ แนวทางการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษ มี 4 แนวทาง ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีผลลัพธ์ คือ เทคนิควิธีการทำปุ๋ยชีวภาพการปลูกผักปลอดสารพิษ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านกิจกรรมที่ 2 การพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยซึ่งมีผลลัพธ์ คือ การส่งเสริมการตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยกิจกรรมที่ 3 การสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพผักปลอดสารพิษ ซึ่งได้ผลเป็นเครือข่ายผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค อาชีพผักปลอดสารพิษ และ กิจกรรมที่ 4 การรับรองด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีผลลัพธ์ คือการส่งเสริมให้มีการรับรองด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม3) รูปแบบการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษได้แก่ การสร้างเครือข่ายผู้ผลิต เครือข่ายผู้จำหน่ายผักปลอดสารพิษ เครือข่ายผู้บริโภค การใช้ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม
เอกสารงานวิจัย
  1. การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางอาหารด้านผักปลอดสารพิษ โดยการจัดการตนเอง: เทศบาลตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
  2. คู่มือ สสส. ขวัญนภา
  3. ปก
  4. บทคัดย่อ
  5. กิตติกรรมประกาศ
  6. สารบัญ
  7. บทที่ 1
  8. บทที่ 2
  9. บทที่ 3
  10. บทที่ 4
  11. บทที่ 5
  12. บทที่ 6
  13. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ