$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
การติดตามและประเมินผลอย่างกัลยาณมิตรในการจัดสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน: กรณีศึกษาตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสาคัญ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล การจัดสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน : กรณีศึกษาตาบลไชยวัฒนา อาเภอปัว จังหวัดน่าน และ 2) เพื่อ พัฒนารูปแบบการติดตามและประเมินผลอย่างกัลยาณมิตรของการจัดสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน : กรณีศึกษาตาบลไชยวัฒนา อาเภอปัว จังหวัดน่าน ในการวิจัยเพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการจัดสวัสดิการสังคมสู่การจัดการ ชุมชน ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งศึกษากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักอันประกอบด้วย ผู้นาชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการสังคม และแกนนากลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ตาบลไชยวัฒนา อาเภอปัว จังหวัดน่าน จานวน ๑๐ คน ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสาหรับ การวิเคราะห์รูปแบบเดิม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ส่วนการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามและประเมินผลอย่างกัลยาณมิตรของการจัดสวัสดิการสังคมสู่ การจัดการชุมชน ได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากับกลุ่มการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน ๑๐ คน เพื่อให้ข้อมูลในขั้นตอนของการพัฒนารูปแบบใหม่เบื้องต้น และดาเนิน กิจกรรมการวิจัยด้วยใช้การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal: PRA) คือ การวิเคราะห์จุดเด่นที่เป็นองค์ประกอบและเงื่อนไขสาคัญ การระดมความคิดเห็น การจัดกิจกรรมในองค์ประกอบที่ ขาดไป และการสรุปผลการทดลองด้วยการถอดบทเรียน โดยการใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการจัดสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน ทั้งรูปแบบของภาครัฐและชุมชนก่อให้เกิดจุดแข็งของพื้นที่ตาบลไชยวัฒนาคือ มีรูปแบบการบริหารที่มีกองทุน เงินล้านเป็นต้นแบบ และพยายามบริหารจัดการตามรูปแบบนั้นให้ได้ ทาให้กิจกรรมและการดาเนินงานของ แทบทุกกลุ่มจะมีความคล้ายกันทั้งหมด นอกจากนั้น คณะกรรมการหมู่บ้านยังมีความเข้มแข็ง รวมทั้งมีคน รุ่นใหม่เข้ามาทางาน สมาชิกช่วยกันติดตามตรวจสอบ ด้วยการรู้กฎระเบียบและส่งเงินตรงเวลา และที่ สาคัญคือ การเวียนกันค้าของสมาชิก ซึ่งเป็นการตรวจสอบกันเองของคนในชุมชน หากแต่ยังขาดระบบและ กลไกในการออกแบบการดาเนินงานทั้งด้านบริบท ปัจจัยนาเข้า การบริหารจัดการ และการติดตาม ประเมินผล ปัจจุบันเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านของคณะกรรมการชุดเก่าและเกิดคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามา บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในแทบทุกหมู่บ้าน ซึ่งอาจเป็นเพราะด้วยคณะกรรมการคนละกลุ่มคน ทาให้ไม่ มีการประสานงานในด้านข้อมูลของกองทุน ส่งผลให้ชุมชนเกิดปัญหาที่สาคัญคือ การขาดช่วงของข้อมูล คณะกรรมการชุดใหม่แทบไม่มีข้อมูลเดิม ทาให้ตรวจสอบการบริหารจัดการในกองทุนได้ยาก แต่อย่างไรก็ดี องค์การบริหารส่วนตาบลได้หนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนฌาปนกิจด้วยการให้ คณะกรรมการได้ไปศึกษาดูงานที่องค์การบริหารส่วนตาบลริม อาเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ ต้นแบบในการจัดการตนเอง สาหรับรูปแบบการติดตามและประเมินผลอย่างกัลยาณมิตรในการจัดสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน ประกอบด้วยองค์ประกอบหรือเงื่อนไขสาคัญ ได้แก่ 1) การจัดการข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมของกองทุน สวัสดิการสังคม 2) การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกองทุนสวัสดิการสังคม และ 3) การสร้าง เครือข่ายกองทุนสวัสดิการสังคม โดยจากการระดมความคิดเห็นและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม อันประกอบด้วยการร่วมคิดและตัดสินใจจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสังคม การร่วมบริหาร จัดการเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม การร่วมรับผลประโยชน์ และการร่วมติดตามและประเมินผล ซึ่งนาไปสู่องค์ ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการจัดสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน 2) นวัตกรรม ฐานข้อมูลสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน 3) นวัตกรรมโมเดลการบริหารสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน 4) เครือข่ายการขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมสู่การจัดการชุมชน และ 5) นวัตกรรมการติดตามประเมินผลสวัสดิการ สังคมสู่การจัดการชุมชน รวมถึงการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะในประเด็น “การจัดสวัสดิการชุมชนแบบ บูรณาการอย่างมีส่วนร่วมโดยผ่านกระบวนการจัดการความรู้และนาใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง”
การติดตามและประเมินผล