$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเอง เพื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการ 4 ส. ของกลุ่มผู้สูงวัย เทศบาลตลาดใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่และภาคีเครือข่าย
การวิจัยมีวัตถุประสงค์พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อทดลองใช้ รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ ด้วยกระบวนการ 4 อ.สาหรับกลุ่มผู้สูงวัย ทต. ตลาดใหญ่ จ.เชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองร่วมกับเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม การดาเนินงานมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 สถานภาพ ศักยภาพ และแนวทางการพัฒนารูปแบบ กิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ ด้วยกระบวนการ 4 อ.สาหรับกลุ่มผู้สูงวัย ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ โดยมีการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดการความรู้จากประสบการณ์ความสาเร็จ ระหว่างดาเนินการ รวมทั้ง ทดลองใช้รูปแบบการกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเอง ผลวิจัยพบว่ารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ ด้วยกระบวนการ 4 อ. สาหรับกลุ่มผู้สูงวัย ที่ได้รับการยอมรับร่วมกันของภาคีเครือข่ายและผู้ทรงคุณวุฒิ มีวงจรการเรียนรู้เป็น 3 องค์ประกอบเรียกว่า BCL Modelได้แก่ 1) การเรียนรู้จากแบบปฏิบัติที่ดีและทาแผนแบบมีส่วนร่วม (Best Practices Learning and Participatory Plan : B) มีขั้นตอนสาคัญคือ 1.1) การศึกษาข้อมูลการ จัดการสุขภาวะท้องถิ่นและแบบปฏิบัติที่ดี 1.2) ออกแบบกิจกรรมเสริมทักษะและจัดทาแผนปฏิบัติการ ดาเนินกิจกรรม 1.3) ทาคู่มือเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิง สร้างสรรค์ 1.4) ทาแผนปฏิบัติแผนการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ 2) ปฏิบัติการและเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ (Coaching Peried : C ) มีขั้นตอนสาคัญคือ 2.1) ปฏิบัติการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการตนเองแบบร่วมมือกับผู้มีประสบการณ์และภาคี 2.2) จัดการความรู้สู่การปฏิบัติแบบนาตนเอง 2.3) ปฏิบัติการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการ จัดการตนเองแบบนาตนเอง และ 3) สานพลังเครือข่ายเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง (Learning Organization : L) ขั้นตอนสาคัญคือ 3.1) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมศักยภาพการปฏิบัติ 3.2) การ จัดการความรู้สู่การใช้ประโยชน์ สาหรับผลการทดลองใช้รูปแบบการกิจกรรมพบว่า มีผลที่แสดงถึงความ เปลี่ยนแปลงในทางบวกอย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านความรู้และความสามารถในการพัฒนารูปแบบกิจกรรม เสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ ด้วยกระบวนการ 4 อ.สาหรับกลุ่มผู้สูงวัย นอกจากนี้ด้านความ พึงพอใจของผู้ร่วมโครงการพบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุดทุกรายการ
รูปแบบกิจกรรม