$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อเสริมทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะ ของกลุ่มผู้สูงวัย เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ และภาคีเครือข่าย
การวิจัยครั้งนี้มีวุตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการการใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เสริมทักษะการจัดการสุขภาวะผู้สูงวัย ของเทศบาลตาบลตลาดใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ และภาคี เครือข่าย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมต่อการใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เสริม ทักษะการจัดการสุขภาวะผู้สูงวัย ของเทศบาลตาบลตลาดใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ และภาคีเครือข่าย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองร่วมกับเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) การดาเนินงานมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 สถานภาพ ศักยภาพ และ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะผู้สูงวัย ระยะที่ 2 การสร้างและทดลอง สื่อเสริมทักษะการจัดการสุขภาวะผู้สูงวัย การรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการการ ศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุม เครื่องมือ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการปฏิบัติตนในการจัดการตนเองด้านสุขภาพแบบวัดความรู้ แบบ สังเกตพฤติกรรม แบบประเมินเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเอง และแบบประเมินผลความพึง พอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายสาหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนที่ เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ขอบเขตด้านพื้นที่การศึกษา ได้แก่เจ้าหน้าที่เทศบาลตาบลตลาดใหญ่ แกนนา ชมรมผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน ระดับตาบล และระดับอาเภอ และเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตาบลบ้านแม่ก๊ะ อาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เสริมทักษะการจัดการสุขภาวะผู้สูงวัย ของเทศบาลตาบลตลาดใหญ่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) ได้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เสริมทักษะการ จัดการสุขภาวะผู้สูงวัย (QR-Code) จานวน 4 เรื่อง ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูง วัย อาหาร พื้นบ้านเพื่อสุขภาพ การละเล่น เพลงพื้นบ้านและนันทนาการสาหรับผู้สูงวัย คู่มือการ จัดการสุขภาพตนเองของผู้ที่มีโรคเรื้อรัง(2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการ ผลการ ประเมินความรู้และประสบการณ์จากการทดลองใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เสริมทักษะการจัดการ สุขภาวะผู้สูงวัย ของผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างบุคลากรแกนนาขององค์กรหลักที่เข้าร่วม กิจกรรม จานวน 20 คน เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเรียนจาแนกตามสาระการเรียนรู้ที่ ประเมินปรากฏผลโดยสรุปจะเห็นผลการเรียนรู้หลังเรียนแตกต่างจากก่อนเรียนทุกสาระการเรียนรู้ โดยผลก่อนเรียนและหลังเรียนอยู่ระดับดีและดีมากทุกรายการ 2. ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วม โครงการต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมในโครงการโดยสรุปจะเห็นว่าผู้ร่วมโครงการมีความ พึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมโครงการในระดับมากและมากที่สุดทุกรายการโดยมี ความพึงพอใจในด้านได้แนวทางในการปฏิบัติตนการจัดการตนเองด้านสุขภาวะสาหรับผู้สูงวัย ใน ระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะผู้สูงวัย 4 ด้าน ได้แก่ อาหาร อารมณ์ องค์ความรู้เพื่อสุขภาพ และออกกาลังกาย ในระดับมาก และได้แลกเปลี่ยน ประสบการณ์การจัดการตนเองด้านสุขภาวะด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ตามลาดับ
พัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์