$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2560
การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์
การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสาหรับผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ให้มีอัตลักษณ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลางสาดแปรรูป กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ลางสาดจากจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยแบ่งออกแบบ 2 รูปแบบ กลุ่มแรกคือ กลุ่มเกษตรกร ชุมชน นักวิจัย และผู้บริโภค จานวน 132 คน และกลุ่มตัวที่สอง คือ กลุ่มตัวอย่างในการจัดแสดงสินค้า 3 ครั้ง จานวน 234 คน และเครื่องมือที่นามาใช้ในงานวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสารวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลางสาด แบบสอบถามความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ลางสาด และแบบสังเกตความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ลางสาด ผลการวิจัยพบว่า การปลูกลางสาดของจังหวัดอุตรดิตถ์ ปลูกแบบระบบวนเกษตร ที่ยังคงใช้ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาในอดีตในการปลูกลางสาด ที่ปลูกบนภูมิประเทศแบบถูเขา ในป่า มีต้นไม้ใหญ่และต้นไม้เล็กกระจายเป็นบริเวณกว้าง บริเวณรอบๆ มีลาธารไหลผ่าน มีการเติบโตของผลไม้จากป่าโดยไม่ใช้สารเคมี ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์จากการถอดจากกายภาพของลางสาด 3 รูปแบบ และนาไปสอบถามความพึงพอใจ พบว่า ชื่อ “ช่อนวลแก้ว” มีความพึงพอใจมากที่สุด และออกแบบบรรจุภัณฑ์สาหรับลางสาดสดและลางสาดแปรรูปทั้งหมด 18 sku. จากการสอบถามความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ลางสาด พบว่า บรรจุภัณฑ์น้าลางสาดแบบขวดมีความพึงพอใจมากที่สุด และนาไปสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคจากการจัดแสดงสินค้า 3 ครั้ง พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทางาน จานวน มีการเดินเข้าชมร้านแบบกลุ่ม การแต่งกายใส่ชุดทางาน โดยลักษณะการเดินหรือแวะที่ร้านส่วนใหญ่จะสอบถามจานวน ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ น้าลางสาด และสเลอปี้ การสอบถามเกี่ยวกับการกาหนดราคาพบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าราคามีความเหมาะสม และเมื่อสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของสินค้า พบว่า ส่วนใหญ่ชอบที่ความแปลกใหม่
การพัฒนารูป,แบบบรรจุภัณฑ์,ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์