$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2560
การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาด จังหวัดอุตรดิตถ์
การวิจัยเรื่องการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาด และ 2) พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวิธีดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการประกอบธุรกิจเกษตรลางสาด โดยศึกษาในประเด็นการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย และ การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย และการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลในโซ่อุปทานของธุรกิจเกษตรลางสาดในภาพรวม และได้รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาดในตลาดที่แตกต่างกัน อีกทั้ง การคืนข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการสอบยันข้อมูลและเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย การรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth Interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการใช้แบบสอบถามจากผู้บริโภค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในส่วนที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการดำเนินงานของคณะวิทยาการจัดการซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดการ และการตลาด ร่วมกับเกษตรกรและภาคีเครือข่ายในการให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาด ประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกษตรลางสาด ได้แก่ ผู้ผลิตหรือเกษตรกร คนกลางทางการตลาด หรือ ผู้รวบรวมสินค้าเกษตรที่เป็นลักษณะของผู้ประกอบการเพื่อสังคม (SE) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ที่รวบรวมลางสาดส่งขายไปยังผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือ เลมอนฟาร์ม ลูกค้าเป้าหมาย คือ ลูกค้าตลาดพรีเมี่ยม ที่มีความต้องการสินค้าปลอดภัย ทั้งนี้ การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลางสาด จังหวัดอุตรดิตถ์ นั้นแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1) การตลาผลไม้สดพรีเมี่ยม ที่ต้องเริ่มตั้งแต่เกษตรกรผลิตผลไม้คุณภาพเพื่อส่งผ่านผู้จัดจำหน่าย ซึ่งก็คือ เลมอนฟาร์ม และ2) ตลาดสำหรับลางสาดแปรรูป ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตลางสาดที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ว่าจะเป็นขนาด รสชาติ หรือลางสาตกเกรดนั้นเอง มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร