$endsection URU Research

รายงานวิจัย

ทุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน
2552
ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต.แม่พลู อ.ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
The Biodiversity and Utilization of Herbal and Native vegetable in Agroforestry, Maepool sub-district, Lublae district, Uttaradit province
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต. แม่พูล อ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ นิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ของสมุนไพรและผักพื้นบ้าน โดย ด าเนินการส ารวจและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านในบริเวณพื้นที่สวนวนเกษตรร่วมกับ ปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรในการส ารวจ จ าแนกชนิดพันธุ์ของพืชและการใช้ประโยชน์ ท าการ จัดเก็บตัวอย่างพันธุ์พืชโดยจัดท าตัวอย่างพรรณไม้แห้งเพื่อน าไปจัดจ าแนกชนิด ศึกษาข้อมูลทาง พฤกษศาสตร์และตรวจสอบความถูกต้อง ผลการศึกษามีการส ารวจพบพืชทั้งหมด 164 ชนิด จ านวน 87 วงศ์ จ าแนกตามการใช้ประโยชน์ จัดเป็นพืชสมุนไพร 97 ชนิด เป็นผักพื้นบ้าน 40 ชนิด และใช้ ประโยชน์ได้ทั้งเป็นสมุนไพรและผักพื้นบ้าน 27 ชนิด ส าหรับลักษณะทางนิเวศวิทยาของพื้นที่วนเกษตร ได้ท าการศึกษาคุณสมบัติของดิน วิเคราะห์โครงสร้างสังคมพืช ท าการส ารวจและเก็บตัวอย่างโดยวาง แปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 40 x 40 เมตร จ านวน 19 แปลง พบว่า ลักษณะของสังคมพืชในพื้นที่วนเกษตร อ าเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความส าคัญทางนิเวศวิทยาในพื้นที่สูงได้แก่ ทุเรียน ลองกอง และลางสาด ส่วนดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ (Shannon-Wiener Index) พบว่ามี ค่า 2.48 ลักษณะสมบัติทางเคมีของดินในระบบวนเกษตร พบว่า ค่าปฏิกริยาของดินมีค่าอยู่ที่ระดับ 3.98 – 6.02 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าอยู่ที่ระดับ 1.829 – 4.526 เปอร์เซ็นต์ ส าหรับ ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน พบว่า มีค่าอยู่ที่ระดับ 13.739 -23.735 me/100g ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ที่พบ มีค่าอยู่ที่ระดับ 0.006 – 0.028 เปอร์เซนต์ ปริมาณฟอสฟอรัสและ ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ มีค่าอยู่ที่ระดับ 17.178-37.321 ppm และ 5.316 – 85.601 ppm ตามล าดับ
ความหลากหลาย, สมุนไพร, ผักพื้นบ้าน, วนเกษตร