ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แผนที่สุขภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Map of Mental Health Status among the Elder Persons in Khok Khamin Sub District, Phlapphlachai District, Buriram Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวนิธินันท์ มาตา
ผู้ร่วมวิจัย : นางสาวศิโรรัตน์ กุลวงศ์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์หลัก 1 เพื่อสร้างชั้นข้อมูลเชิงพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานและสุขภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานและสุขภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 3 เพื่อสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานและสุขภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 4 เพื่อสร้างแผนที่แสดงถึงสถานการณ์ด้านสุขภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุรายบุคคล ในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ วัตถุประสงค์รอง 1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและระดับความรุนแรงของโรคซุมเศร้าในผู้สูงอายุเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 3 เพื่อศึกษาหาตำแหน่งที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 4 เพื่อเสนอแนะแนวทางการรักษาและการป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ
แผนที่สุขภาพ, สุขภาพด้านจิตใจ,โรคซึมเศร้า
บทคัดย่อย
การจัดทำแผนที่สุขภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างแผนที่แสดงถึงสถานการณ์ด้านสุขภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุรายบุคคล โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากการศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งศึกษาหาตำแหน่งที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ และจัดทำฐานข้อมูลของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพด้านจิตใจปกติและผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ประชากรที่ใช้วิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ รวมประชากร 290 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุของไทย ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ส่วนเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ คือ แอพพลิเคชันบอกพิกัดตำแหน่งดาวเทียมและแผนที่ดาวเทียม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย จัดทำฐานข้อมูลและแผนที่โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาจากแบบสอบถามผู้สูงอายุเมื่อนำมาวิเคราะห์และจัดระดับความรุนแรงตามช่วงคะแนน แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ผู้สูงอายุปกติ ผู้สูงอายุมีความเศร้าเล็กน้อย ผู้สูงอายุมีความเศร้าปานกลาง และผู้สูงอายุมีความเศร้ารุนแรง ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะอยู่ในระดับปกติ จำนวน 266 คน รองลงมาคือ มีความเศร้าเล็กน้อย จำนวน 11 คน ผู้มีความเศร้าปานกลาง จำนวน 10 คน และผู้มีความเศร้ารุนแรง จำนวน 3 คน ตามลำดับ การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าด้วยอัลกอริทึมของการทำเหมืองข้อมูลด้วยโปรแกรม weka พบว่า ปัจจัยในเรื่องของประเภทเงินออม และประวัติการโดนทำร้ายร่างกายของผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มากที่สุด จากแผนที่สุขภาพด้านจิตใจดังกล่าวรวมกับสภาพปัญหาและปัจจัยเสี่ยงของผู้สูงอายุ สามารถนำมาวางแผนการรักษาพยาบาลและแนวทางการติดตามผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านภาวะซึมเศร้าให้มีประสิทธิภาพต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทคัดย่อ
  2. บทที่ 1 - บทนำ
  3. บทที่ 2 - ทบทวนวรรณกรรม
  4. บทที่ 3 - วิธีการดำเนินการวิจัย
  5. บทที่ 4 - บริบทของพื้นที่ศึกษา
  6. บทที่ 5 - ปฏิบัติการวิจัยในพื้นที่
  7. บทที่ 6 - สรุปผลและข้อเสนอแนะ
  8. ปก
  9. แบบสรุปรายงานวิจัยแผนที่สุขภาพทางกาย โคกขมิ้น
  10. แบบสรุปโครงการวิจัยแผนที่สุขภาพจิตใจ
  11. แบบสรุปรายงานวิจัยแผนที่สุขภาพทางกาย โคกขมิ้น

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ