ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ช่องทางการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาของกลุ่มแม่บ้านวังศิลา ในเขตพื้นที่ ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
Distribution channel of Jumla Hom Mali rice in Wang Sila in Sri Narong Sub-District, Chumphon Buri District Surin Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.จันทิราพร ศิรินนท์
ผู้ร่วมวิจัย : นางสาวพัชราวรรณ อาจหาญ นางสาววณิชา แผลงรักษา
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มแม่บ้านวังศิลาในการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ในเขตพื้นที่ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ 2.      เพื่อศึกษารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาของกลุ่มแม่บ้านวังศิลา ในเขตพื้นที่ ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ 3.      เพื่อพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาของกลุ่มแม่บ้านวังศิลา ในเขตพื้นที่ ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ
รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า, การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาของกลุ่มแม่บ้านวังศิลา ตำบลศรีณรงค์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาสาเหตุและผลกระทบของปัญหาที่มีต่อการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา โดยการสำรวจ สังเกต และการใช้วิธีการระดมความคิดเห็น การทำงานแบบมีส่วนร่วมของผู้วิจัย ชุมชน ผู้นำในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา เพื่อให้สามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากขึ้น สร้างมูลค่าและรายได้ที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแม่บ้านวังศิลาต้องการพัฒนารูปแบบช่องทางการจำหน่ายข้าวหอมมะลิเพิ่มมากขึ้นโดยใช้การสื่อสารแบบครบวงจรมาใช้ เช่น ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เฟสบุ๊ค ไลน์ เว็ปไซต์ นอกจากจะรอรับคำสั่งซื้อจากกลุ่มผู้บริโภคอย่างเดียว พร้อมกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีการนำระบบอัดสูญญากาศมาใช้ในการบรรจุข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาแทนการบรรจุใส่ถุงและมัดยางอย่างเดียว เพื่อช่วยในการรักษาคุณภาพได้ยาวนานยิ่งขึ้น และยังพัฒนาในรูปแบบสินค้า มีความสวยงาม สะดวกต่อการขนส่ง ต่อมาได้มีการพัฒนาตราสินค้า ภายใต้ชื่อกลุ่มแม่บ้านวังศิลา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม เมื่อผู้บริโภคได้รับรู้ ได้เห็น ก็จะทำให้เกิดการอยากลองซื้อ ลองบริโภค เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมทางการขายมาช่วย เช่น การจัดแสดงสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ในชุมชน หรือในจังหวัด เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาไปในตัว และเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคได้รู้จัก และส่งซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านวังศิลาอย่างต่อเนื่อง
เอกสารงานวิจัย
  1. บทที่ 4
  2. แบบสรุปโครงการวิจัย รูปแบบช่องทางการจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ผศ.จันทิราพร ศิรินนท์
  3. ปกนอก-ปกใน
  4. บทคัดย่อ
  5. กิติกรรมประกาศ
  6. คำนำ
  7. สารบัญ
  8. บทที่-1-บทนำ
  9. บทที่-2-ทบทวนวรรณกรรม
  10. บทที่-3-วิธีดำเนินการวิจัย
  11. บทที่-4-บริบทของพื้นที่ศึกษา
  12. บทที่-5-การดำเนินงานและวิเคราะห์ผล
  13. บทที่-6- สรุปผลและข้อเสนอแนะ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ