ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล เพชรชมภู อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร
The solution to debt problems of farmers in the area of Phetchumphoo Subdistrict Administrative Organization, Amphoe Ko Samphan, Kamphaengphet.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.พิชญา เหลืองรัตนเจริญ
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ปรัชญาไชย แช่มช้อย
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.ศึกษากฎหมายตามแนวความคิดของหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินงานเพี่อแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร 2.ศึกษาปัจจัย แนวคิด และพฤติกรรมของเกษตรกรในการดำเนินการก่อนและหลังการได้รับการช่วยเหลือตามแนวคิดของหน่วยงานภาครัฐ 3.ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชน
คำสำคัญ
กฎหมาย,หนี้สิน,เกษตรกร,Law,DEBT,CULTIVATOR
บทคัดย่อย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย แนวคิด และพฤติกรรมตลอดจนแนวคิดตามนโยบายภาครัฐในการดำเนินงานของหน่วยงานเพี่อแก้ไขปัญหาความยากจน รวมไปถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชนของเกษตรกรในเขตพื้นที่ปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเพชรชมพู ประกอบได้ด้วย 9 หมู่บ้านรายละเอียดดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านวังชมภู หมู่ที่ 2 บ้านเกาะรากเสียดนอก หมู่ที่ 3 บ้านมอเสือดุ หมู่ที่ 4 บ้านคลองแต้ว หมู่ที่ 5 บ้านไหล่ประดา หมู่ที่ 6 บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 7 บ้านเกาะรากเสียดใน หมู่ที่ 8 บ้านแสงตะวัน หมู่ที่ 9 บ้านวังเพชร โดยการเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามจากการสุ่มด้วยตัวอย่างจำนวน 100 ครัวเรือน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา เครื่องมือสถิติเป็น ค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในช่วงอายุ 51-60ปี เป็นเพศหญิง นับถือศาสนาพุทธ สถานภาพในครอบครัวเป็นหัวหน้าครอบครัว มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1-2 คน และ 4-6 คนเป็นจำนวนเท่ากัน โดยมีรายได้ต่อเดือนต่อครัวเรือนน้อยกว่า 5,000 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายต่อปีต่อครัวเรือนประมาณ 60,000-150,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อทำการเกษตรเพราะมีอาชีพหลักในครัวเรือนคือทำเกษตรกรรม และประกอบอาชีพนี้มาแล้วมากกว่า 15 ปี พืชหลักที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในครัวเรือนไม่มีการเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม และเงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพหรือกิจการส่วนใหญ่มาจากเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) วิเคราะห์นโยบายภาครัฐในการดำเนินงานของหน่วยงานเพี่อแก้ไขปัญหาความยากจน ข้อมูลเฉพาะคุณสมบัติผู้กู้หรือเคยกู้ยืมเงินเพื่อทำการเกษตร พบว่าปัจจุบันในครัวเรือนของผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่า 100,000 บาทและไม่มีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนั้นส่วนใหญ่ไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพอื่น ในแต่ละครัวเรือนประกอบไปด้วยสมาชิกประมาณ 4 คน มีทั้งผู้ที่มีรายได้และไม่มีรายได้ มีพื้นที่ในการทำเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์เป็นของตัวเอง ปัจจุบันมีหนี้สินต่อครัวเรือนเฉลี่ยมากกว่าครัวเรือนละ 100,000 บาท สาเหตุมาจากการซื้อปุ๋ยมากที่สุด นอกจากนั้นในแต่ละครัวเรือนถึงแม้จะมีหนี้สินเป็นจำนวนมากแต่ก็ยังมีเงินออม เพราะเป็นเงื่อนไขของการกู้ยืมเงิน อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ถึงแม้ว่าจะมีหนี้สินและมีอาชีพเกษตรกรก็ยังไม่มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงอาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ในส่วนของข้อมูลแหล่งที่ให้กู้ยืม(ผู้ให้กู้) พบว่า ผู้กู้ยืมมีการกู้ยืมเงินมากกว่า 1 แหล่ง ซึ่งแหล่งเงินกู้ประกอบไปด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์ เป็นต้น ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นแหล่งเงินกู้ที่มีครัวเรือนกู้ยืมมากที่สุด โดยแหล่งเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีการทำสัญญาเงินกู้และต้องมีหลักประกันในการชำระหนี้ อย่างไรก็ดี การกู้ยืมเงินของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีหนี้เดิมอยู่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าถึงแม้ว่าจะทราบว่ายังมีหนี้เดิมอยู่แต่ก็ยังให้กู้ยืมเงิน เพราะวัตถุประสงค์ของผู้ให้กู้นั้นต้องการดอกเบี้ย ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการหนี้สินพบว่า ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินมากกว่า 100,000 บาท โดยนำไปใช้ในการซื้อเมล็ดพันธ์พืชมากที่สุด เมื่อกู้ยืมเงินไปแล้วมีการชำระหนี้ตรงเวลา และชำระเป็นรายปีน้อยกว่า 50,000 บาทต่อปี นอกจากนั้นภายหลังจากที่มีการให้กู้ยืมเงินแล้ว เจ้าหนี้ได้มีการมาตรวจดูการจัดการทรัพย์ที่ให้กู้ยืม จากสมมติฐานที่ว่าประชากรขาดความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนที่มาจากนโยบายภาครัฐ ประกอบกับในการบริหารกองทุนมักจะเป็นในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการจะมาจากบุคคลที่อยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น ดังนั้น ระบบอุปถัมภ์จึงเข้ามามีบทบาทต่อการพิจารณาวงเงิน ส่งผลให้การบริหารจัดการมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ และยังเป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้แก่เกษตรกรบางรายอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า ในส่วนของการบริหารจัดการเงินกู้มิได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการแก้ไขความยากจนให้แก่เกษตรอย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากการพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ซึ่งมิได้คำนึงถึงศักยภาพการชำระหนี้ ประกอบกับระบบตรวจสอบการบริหารจัดการเงินกู้ยังไม่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ได้ เพราะคำนึงถึงแต่อัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว ดังนั้นผู้ให้กู้อาจเกิดภาวะขาดทุนหรือเป็นหนี้สูญได้ ส่วนเกษตรกรก็จะถูกฟ้องร้องยึดทรัพย์เพราะไม่สามารถชำระหนี้ได้เช่นกัน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5
  8. บรรณานุกรม
  9. ประวัติผู้วิจัย
  10. แบบสอบถาม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ