$endsection URU Research

รายงานวิจัย

กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2561
การสังเคราะห์องค์ความรู้ ชุดความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
การสังเคราะห์องค์ความรู้และบทเรียนจากการดาเนินจากงานวิจัยในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์สาคัญคือเพื่อถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้จากการดาเนินงานพัฒนาระบบและกลไกการการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยภายใต้ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับภาคีคู่ความร่วมมือ และเพื่อหาข้อสรุปสถานภาพองค์ความรู้ ชุดความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีและข้อเสนอ ทิศทางการพัฒนาในแต่ละประเด็นที่นาใช้ประโยชน์ได้อย่างชัดเจนในพื้นที่ โดยวิธีปริทัศน์แบบพรรณา (Narrative Review) การดาเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การถอดบทเรียนและสังเคราะห์ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย และ ระยะที่ 2 การสังเคราะห์องค์ความรู้ ชุดความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดการความรู้จากประสบการณ์ความสาเร็จ ระหว่างดาเนินการ รวมทั้งสังเคราะห์องค์ความรู้และบทเรียน ปัจจัยความสาเร็จเพื่อการต่อยอดขยายผล ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบและกลไกการการขับเคลื่อนงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคู่ความร่วมมือที่เป็นนวัตกรรมกลไกเชิงระบบพัฒนาต่อเนื่อง ดาเนินการใน 3 กระบวนการหลัก ดังนี้ 1.1 กระบวนการต้นทาง เป็นการสร้างระบบและกลไกการสนับสนุนงาน เชิงพื้นที่ที่สร้างการเรียนรู้และนาใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนท้องถิ่น เรียกว่ากระบวนการทาแผนที่ทิศทางการวิจัย (Research Mapping) โดยมหาวิทยาลัยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมวิเคราะห์ปัญหาและประเด็นปัญหาเร่งด่วน จัดลาดับความสาคัญและร่วมกัน พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 1.2 กระบวนการระหว่างทาง เป็นการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ (Research Program/Research Project) โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากโจทย์ในพื้นที่ดาเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่ ออกแบบการวิจัยให้บูรณาการกับการเรียนการสอน การบริการวิชาการ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ ชุมชน และองค์กรภาคีสนับสนุนต่าง ๆ จนได้นวัตกรรมและองค์ความรู้ที่เหมาะสมสาหรับพื้นที่ พร้อมทั้งการติดตามประเมินแบบเสริมพลังเพื่อให้การขับเคลื่อนงานบรรลุวัตถุประสงค์ และ 1.3 กระบวนการปลายทาง เป็นการสังเคราะห์ผลงานวิจัยเพื่อต่อยอดและผลักดันสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ (Public Policy) โดยผลการวิจัยได้ถูกนาสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น และผลักดันสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะบนฐานนวัตกรรมองค์ความรู้พร้อมคู่มือ เครื่องมือที่พร้อมใช้ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ และภาคีที่เกี่ยวข้องในประเด็นนโยบายที่เป็นประเด็นร่วมของเครือข่าย ที่มีการทดลองปฏิบัติแล้วในระดับพื้นที่ และผลักดันสู่ระดับเครือข่าย ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ 2) รูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับภาคี ผลการดาเนินงานช่วยให้ได้รูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับภาคี ประกอบด้วย 2 ระบบ หลัก คือ 1) ระบบหลัก ได้แก่ ระบบบริหารจัดการคุณภาพงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับภาคีและ 2) ระบบสนับสนุน มี 6 ระบบ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูล ระบบการเสริมสมรรถนะนักวิจัยเชิงพื้นที่ ระบบการสร้างทีม ระบบการสร้างกลไกคู่ความร่วมมือ ระบบเครือข่ายวิชาการ ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ ระบบเรียนรู้และพัฒนาชุดความรู้ องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และระบบการสานประโยชน์ 3) ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ ชุดความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัย ในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏอุตรดิตถ์ จานวน 105 เรื่อง ช่วยให้ได้ข้อค้นพบที่เป็นองค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัยในมิติต่าง ๆ โดยมีประเด็นสาระที่เป็นองค์ความรู้หลัก 4 ประเด็น ได้ การใช้ข้อมูลและพัฒนาฐานข้อมูล การพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ และภูมิปัญญา การบริหารแบบบูรณาการชุมชนท้องถิ่น การเสริมสมรรถนะบุคลากรเพื่อการวิจัยเชิงพื้นที่ และการจัดการเรียนรู้เพิ่มขีดความสามารถของแกนนาในพื้นที่และภาคี โดยประเด็นที่มีชุดความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มีจานวนมากที่สุดได้แก่ ประเด็นการจัดการเรียนรู้เพิ่มขีดความสามารถของแกนนาในพื้นที่และภาคี จานวน 18 เรื่อง รองลงมาได้แก่ การพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ และภูมิปัญญา จานวน 17 เรื่อง การบริหารแบบบูรณาการชุมชนท้องถิ่น จานวน 17 เรื่อง การใช้ข้อมูลและพัฒนาฐานข้อมูล จานวน 10 เรื่อง และการการเสริมสมรรถนะบุคลากรเพื่อการวิจัยเชิงพื้นที่ จานวน 4 เรื่อง