$endsection URU Research

รายงานวิจัย

กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2560
การสังเคราะห์การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
แผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคู่ความร่วมมือ คือ ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน องค์การบริหารส่วนตา บลบัวใหญ่ องค์การบริหารส่วนตาบลเจดีย์ชัย จังหวัดน่าน และเครือข่ายรวม 42 พื้นที่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์นั้นมีองค์กรปกครองส่วนทั้งถิ่นที่ให้ความสาคัญกับประเด็นการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์จานวน 28 พื้นที่ (67% ของพื้นที่ทั้งหมด) ครอบคลุมทั้งสิ้น 7 จังหวัด โดยแผนมีเป้าของแผนคือต้องเกิดแหล่งเรียนรู้ต้นแบบที่มีระบบบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบครบวงจร ในการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะดาเนินงานขับเคลื่อนบนฐานงานพันธกิจสัมพันธ์โดยยึดหลักหลักการพื้นฐาน 4 ประการ พันธกิจสัมพันธืกับสังคม คือ 1. ร่วมคิดร่วมทาแบบหุ้นส่วน (Partnership) 2.เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefit) 3.มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Scholarship) และ 4.เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Social impact) โดยในการดาเนินงานนั้นเป็นไปตามเป้าหมายของโดยทางมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายสาคัญ คือ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการนาใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สู่การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ที่สาคัญ 4 ประการ คือ 1. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลสาหรับการตัดสินใจในการจัดการขยะ 2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและยกระดับองค์ความรู้ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ต้นแบบสาหรับการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบครบวงจร3. เพื่อสร้างผู้ประกอบการและภาคีเครือข่ายเพื่อหนุนเสริมระบบบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม และ4. เพื่อสังเคราะห์ระบบบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งหมด 16 โครงการย่อยโดยมีโครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้จานวน 15 ชุดโครงการวิจัยและมีโครงการสังเคราะห์ระบบ บริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 1 ชุดโครงการวิจัย รวมทั้งสิ้น 51 โครงการวิจัยย่อยในพื้นที่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีพื้นที่เป้าหมายในแผนงานวิจัย ในพื้นที่7 จังหวัดประกอบด้วย อุตรดิตถ์ น่าน เชียงราย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พะเยา และลาปาง จานวน 28 อปท. ภายใต้แผนงานวิจัยการจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นาชุมชน กลุ่มแกนนาภาคประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จานวนนักวิจัยในโครงการแบ่งเป็น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 35 คน นักศึกษา 50 คน และนักวิจัยในพื้นที่ 56 คน รวมเป็นนักวิจัยของโครงการทั้งสิ้น 138 คน โดยแผนงานวิจัยนี้มีขั้นตอนดาเนินการ 2 ระยะคือระยะที่ 1 การสังเคราะห์ภาพรวมทั่วไปของแผนงานวิจัยและกระบวนการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมปลอดภัยเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชน ภายใต้แผนงานวิจัย ระบบการจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 2 การสังเคราะห์โครงการวิจัยย่อยในด้านองค์ความรู้นวัตกรรม การจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจดีย์ชัย บัวใหญ่ และเครือข่าย เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจในการนาสู่นโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค หรือประเทศ โดยใช้วิธีการ ศึกษาเอกสาร สอบถาม สัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและจัดเวทีชาวบ้านเพื่อตรวจสอบความถูกต้องขององค์ความรู้ที่ได้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการสร้างข้อสรุปจากข้อมูลตามสภาพจริง