$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2561
การพัฒนาการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
โครงการการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการระบบการผลิตพืชผักสู่การสร้างเครือข่ายพื้นที่ ต้นแบบในการผลิตพืชผักปลอดภัยขององค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย กรณีศึกษา กระบวนการ พัฒนาการผลิตปุ๋ยน้ าหมักชีวภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนต าบล เมืองจัง อ าเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เพื่อสร้างพื้นที่ต้นแบบในการปลูกพืชผักสวนครัวแบบปลอดภัย และ นวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปุ๋ยน้ าหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน อีกทั้งเพื่อเป็น แนวทางในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ท าการทดลองและสร้างนวัตกรรมเครื่องกวนปุ๋ยน้ าชีวภาพ ระบบอัตโนมัติเพื่อน าไปใช้ในพื้นที่เป้าหมาย โดยการน าปุ๋ยน้ าชีวภาพที่ได้จากการหมักมาทดสอบกับ ถั่วฝักยาวพันธุ์เส้นสุวรรณ ท าการวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design ( CRD ) วิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีDMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ทั้งหมด 7 กรรมวิธีๆ ละ 3 ซ้ าๆ ละ 10 หลุมๆ ละ 1 ต้น รวม 210 ต้น ดังนี้กรรมวิธีที่ 1 ไม่ฉีดพ่นปุ๋ย (Control) กรรมวิธีที่ 2 ฉีดพ่นปุ๋ยน้ าชีวภาพฯ ผลิต แบบอัตโนมัติ อัตรา 30 ซีซี/น้ า 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 3 ฉีดพ่นปุ๋ยน้ าชีวภาพฯ ผลิตแบบอัตโนมัติ อัตรา 60 ซี ซี/น้ า 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 4 ฉีดพ่นปุ๋ยน้ าชีวภาพฯ ผลิตแบบอัตโนมัติ อัตรา 90 ซีซี/น้ า 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 5 ฉีดพ่นปุ๋ยน้ าชีวภาพฯ ผลิตตามวิธีเกษตรกร อัตรา 30 ซีซี/น้ า 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 6 ฉีดพ่นปุ๋ยน้ าชีวภาพฯ ผลิตตามวิธีเกษตรกร อัตรา 60 ซีซี/น้ า 20 ลิตร และ กรรมวิธีที่ 7 ฉีดพ่นปุ๋ยน้ าชีวภาพฯ ผลิตตามวิธี เกษตรกร อัตรา 90 ซีซี/น้ า 20 ลิตร ผลการศึกษาพบว่าคุณสมบัติของปุ๋ยน้ าชีวภาพที่ได้จากการหมักโดยใช้นวัตกรรม มีการละลายของ ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในวัสดุที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยละลายออกมามากกว่าการหมักตามวิธีของเกษตรกร ทั้ง คุณสมบัติกายภาพ เคมี และธาตุอาหารพืช จึงส่งผลให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าในการน าไปใช้กับพืชได้ใน ปริมาณที่มากขึ้น จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่ากรรมวิธีที่ 4 ในการเจริญเติบโตและผลผลิตอาทิ ความสูง,ขนาดล าต้น,ความยาวฝัก,ขนาดฝักและจ านวนเมล็ด แสดงผลสูงสุดและโดดเด่นจึงมีผลผลิตต่อไร่สูง ตามไปด้วย โดยกรรมวิธีที่ 4 ได้ผลผลิต 8.33 กก./แปลง หรือ 5,546.33 กก./ไร่ โดยใช้องค์ความรู้ทางด้าน วิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของเกษตรกรหรือประสบการณ์ของเกษตรกร และมีตัวชี้วัด (Output) คือเกิด นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปุ๋ยน้ าชีวภาพ ผลลัพธ์ (Outcome) เกิดนวัตกรรมถังกวนปุ๋ยอัตโนมัติ และผลกระทบ (Impact) ต่อผู้วิจัยผู้ใช้ผลงานเครือข่ายท้องถิ่น คือ เกษตรกรมีความสะดวกสบายในการหมัก ปุ๋ยน้ าชีวภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงบรรลุเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ต้นแบบทุก ประการทั้งการสร้างนวัตกรรมเครื่องกวนปุ๋ยอัตโนมัติ เพื่อการผลิตปุ๋ยน้ าชีวภาพคุณภาพสูงส าหรับพืชผัก
เครื่องกวนปุ๋ยน้ำชีวภาพระบบอัตโนมัติ