$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การออกแบบและพัฒนาต้นแบบเครื่องอัดขยะมูลฝอยในชุมชน
Design and Development of a Prototype of Waste Compactor for Community
บทความนี้นาเสนอหนึ่งในขั้นตอนการออกแบบ และแนวทางการพัฒนาต้นแบบเครื่องอัดขยะมูลฝอยที่สามารถผลิตและใช้ในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายตามพื้นที่ ชุมชนสามารถผลิตและซ่อมแซมได้ด้วยตนเอง กระบวนการคิดวิเคราะห์จะทาโดยการมีส่วนร่วมจากหลาย คือฝ่ายนักวิชาการ ฝ่ายชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทาการร่วมวิเคราะห์หาแนวทางการออกแบบและพัฒนาต้นแบบเครื่องอัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสาหรับชุมชน โดยจากข้อมูลพบว่าขยะส่วนใหญ่ที่ชุมชนต้องการทาการอัดก้อนคือ ขยะจาพวกกระป๋องอลูมิเนียม และขวดพลาสติก ที่จาหน่วยทั่วไปตามท้องตลาด มีค่าความต้านทานต่อการเสียรูปสูงสุดประมาณ 6 เมกะปาสคาล ส่วนขวดพลาสติกมีค่าความต้านทานต่อการเสียรูปสูงสุดประมาณ 3 เมกะปาสคาล จากนั้นทาการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของอุปกรณ์สร้างแรงกดเพื่อหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมในชุมชน คือ แม่แรงกระปุกไฮโดรลิค จากนั้นจึงนาข้อมูลเหล่านี้มาออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดขยะที่สามารถอัดขยะก้อนให้มีขนาด 30 x 30 x 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งทาให้สะดวกในการจัดเก็บและเคลื่อนย้าย
ขยะมูลฝอย, ค่าความต้านทานต่อการเสียรูปสูงสุด, ระบบไฮโดรลิค