$endsection URU Research

รายงานวิจัย

กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2560
การศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบบาบัดก๊าซไอเสียจากเตาเผาขยะระดับชุมชน ภายใต้แผนงานวิจัย การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
มลพิษทางอากาศที่เกิดจากกระบวนการไหม้เผาขยะได้แก่ ควันไฟ ฝุ่นละออง และก๊าซชนิดต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน และผู้ใช้งาน รวมทั้งปัญหาแวดล้อม ทั้งนี้ระบบบาบัดมลพิษทางอากาศของเตาเผาขยะจะเป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและมีราคาแพง จึงไม่เหมาะกับการลงทุนติดตั้งและใช้งานในชุมชน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งประเด็นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของระบบบาบัดมลพิษทางอากาศสาหรับเตาเผาขยะชุมชน โดยการเก็บข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการลงพื้นที่สารวจและเก็บข้อมูลในลักษณะโฟกัสกรุ๊ปร่วมกับตัวแทนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตาบลป่าคา อาเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดถูกนามาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ซึ่งผลที่ได้พบว่าปัจจัยในการสร้างระบบบาบัดมลพิษทางอากาศสาหรับเตาเผาขยะชุมชน คือ ต้องมีประสิทธิภาพในการบาบัดมลพิษตามมาตรฐานการปล่อยมลพิษทางอากาศ ต้นทุนต่า ใช้งานง่าย คนในชุมชนสามารถจัดสร้างและบารุงรักษาเองได้ สาหรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมคือ มีห้องเผาไหม้ก๊าซพิษ ระบบดักฝุ่นละอองด้วยไซโคลนและระบบระบายความร้อนให้กับก๊าซไอเสียเพื่อป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์ดักจับฝุ่น โดยระบบาบัดก๊าซไอเสียที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพที่ดีโดยสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 28.67 % และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ 67% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อีกทั้งมีราคาถูก และดูแลรักษาง่าย ซึ่งตรงต่อความต้องการของคนในชุมชน
เตาเผาขยะ, มลพิษทางอากาศ, ระบบบาบัดมลพิษทางอากาศ