$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อการ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมชุมชนที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำปั้ว จังหวัดน่าน
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อการสืบถอดประเพณีวัฒนธรรมชุมชน ที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจชุมชน อบต.น้้าปั้ว จังหวัดน่าน และเพื่อทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองร่วมกับเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research) โดยมีขั้นตอนด้าเนินการจ้าแนกได้ดังนี้ 1) ขั้นการศึกษาองค์ความรู้ เป็นการศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ 2) ขั้นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อการสืบถอดประเพณีวัฒนธรรมชุมชน ที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจชุมชน 3) ขั้นการน้ารูปแบบกิจกรรมไปใช้ เป็นการน้ารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อการสืบถอดประเพณีวัฒนธรรมชุมชน ที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจชุมชน ไปทดลองใช้ เบื้องต้น การทดลองน้าร่อง และการน้าไปใช้ในสถานการณ์จริง 4) ขั้นการประเมินผล เป็นการประเมินประสิทธิภาพ และประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ที่พัฒนาขึ้น ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุม เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ กิจกรรมเสริมทักษะแกนน้าการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการแบบ BCL แบบวัดความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินผลความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายส้าหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลวิจัยพบว่ารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ที่ได้จากศึกษาครั้งนี้ พบว่า มีจุดเด่นสาคัญคือ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงและร่วมเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ของคอล์บ (David A. Kolb. 1974 : 18) ซึ่งเน้นเริ่มต้นจากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องสู่การเกิดความรู้เชิงหลักการแล้วนาไปปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังสอดคล้องแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อแสวงหาความรู้ โดยสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์เดิมและสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเองและนาไปใช้ในสภาพการณ์ที่แท้จริงของผู้เรียน(สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2542 : 43 - 42)
สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์