$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มผู้สูงวัย บ้านปางปุกองค์การบริหารนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ และการทดลองและประเมินผลการใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สืบสานภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มผู้สูงวัย ด้วยกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสาหรับแกนนาชุมชนบ้านปางปุก อบต.นาไร่หลวง จ.น่าน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองร่วมกับเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การดาเนินงานมี ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ สถานภาพ ศักยภาพ เพื่อออกแบบกิจกรรมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สืบสานภูมิปัญญาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสาหรับแกนนาชุมชน ระยะที่ ๒ การสร้างและทดลองใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สืบสานภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มผู้สูงวัย ด้วยกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสาหรับชุมชนบ้านปางปุก โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดการความรู้จากประสบการณ์ความสาเร็จ ระหว่างดาเนินการ รวมทั้งทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยี ผลวิจัยพบว่าการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ และการทดลองและประเมินผลการใช้สื่อสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สืบสานภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มผู้สูงวัย ด้วยกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสาหรับแกนนาชุมชน ที่ได้รับการยอมรับร่วมกันของภาคีเครือข่ายและผู้ทรงคุณวุฒิ มีวงจรการเรียนรู้เป็น ๓ องค์ประกอบเรียกว่า BCL Modelได้แก่ ๑) การเรียนรู้จากแบบปฏิบัติที่ดีและทาแผนแบบมีส่วนร่วม (Best Practices Learning and Participatory Plan : B) มีขั้นตอนสาคัญคือ ๑.๑) ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นและแบบปฏิบัติที่ดี ๑.๒) ออกแบบการเรียนรู้และทาแผนปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ๑.๓) ทาคู่มือการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ๑.๔) สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สืบสานภูมิปัญญาการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มผู้สูงวัย ๑.๕) ทาแผนปฏิบัติแผนการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ๒) ปฏิบัติการและเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ (Coaching Peried : C ) มีขั้นตอนสาคัญคือ ๒.๑) จัดการความรู้สู่การปฏิบัติแบบนาตนเอง ๒.๓) ปฏิบัติการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ และ ๓) สานพลังเครือข่ายเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง (Learning Organization : L) ขั้นตอนสาคัญคือ ๓.๑) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมศักยภาพการปฏิบัติ ๓.๒) การจัดการความรู้สู่การใช้ประโยชน์ สาหรับผลการทดลองใช้รูปแบบการกิจกรรมพบว่า มีผลที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงในทางบวกอย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านความรู้และความสามารถในการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ นอกจากนี้ด้านความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการพบว่าอยู่ในมากและมากที่สุดทุกรายการ
สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์