$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2560
กระบวนการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์
โครงการกระบวนการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสินค้าอัตลักษณ์ (Signature Product) ของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อสร้างกลไกการทำงานเชิงสานประโยชน์ร่วมกัน และระบบขับเคลื่อนงานวิจัยพาณิชย์เชิงพื้นที่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยมุ่งหวังใช้แนวคิดของการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ผสานกับงานวิจัยเชิงพาณิชย์ โดยใช้ลางสาดอุตรดิตถ์ เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืน เกิดการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ในระบบวนเกษตร ผ่านกระบวนการทำงานวิจัยแบบร่วมมือทางวิชาการ (Academic Collaborative Research) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้เกิดคุณค่าและมูลค่า ภายใต้บริบทของชุมชน โดยมีค่านิยมร่วม (Core value) คือการอนุรักษ์ลางสาดอุตรดิตถ์ หัวใจสำคัญของการสร้างสินค้าอัตลักษณ์ (signature product) คือ การสกัดหาคุณค่าที่อยู่ในพื้นที่ รวมถึงความต้องการเชิงลึก (insight) ของเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค แล้วพัฒนาเป็นสินค้าและบริการ ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) เพื่อหากระบวนการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และมีความเป็นไปได้ในการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยอาศัยกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งต้องมีวิสัยทัศน์ร่วม การมีส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความโปร่งใส และความเชื่อมั่นต่อกัน จากงานวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างทีมดำเนินงานผ่านกิจกรรมเสริมสมรรถนะด้านต่าง ๆ โดยการสร้างเป้าหมาร่วมกันตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินงานทำให้เกิดทีมทำงานที่มีใจที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน การออกแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางช่วยให้นักวิจัยนักวิจัยเข้าใจและเห็นภาพการต่อ jigsaw ได้ครบทุกมิติตลอดโซ่การผลิตและการค้า จนสามารถวางแผนการทำงานให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน จากกิจกรรมในกระบวนการวิจัยทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมาก เริ่มตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มนักวิจัยเอง เครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายผู้ประกอบการ เครือข่ายสนับสนุน และหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัย ว่าใครทำอะไร และเมื่อมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการนำจุดเด่นที่มีอยู่ของบางคนที่เคยปฎิบัติได้ผลไปประยุกต์ใช้ มีการเรียนรู้จากเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย นอกจากนี้การเรียนรู้จากการศึกษาดูงาน อบรม สัมมนา และการประชุมทุกครั้ง ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาตนเอง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเป้าหมายร่วมคือการสร้างความยั่งยืนของคนในชุมชน เนื่องจากในการกระบวนการดำเนินงานวิจัยต้องมีการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่องจากการทำงานในโครงการนี้จึงทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แก่ กลุ่มนักวิจัย เครือข่ายแกนนำเกษตรกร เครือข่ายผู้ประกอบการมีประสบการณ์สูงขึ้นในการสร้างความร่วมมือจากการที่ได้มีโอกาสติดต่อประสานความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานจำนวนมาก ทั้งภาคประชาสังคม และภาคเอกชน
ลางสาด,เศรษฐกิจฐานราก,ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์