ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การประเมินการปนเปื้อนโลหะหนักในพื้นที่ผลิตอ้อย กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
analyze amount of heavy metals which accumulated in sugarcane stems and soil in Non Thong municipality Nong Ruea district Khon Kaen province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์นฤมล โสตะ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในลำต้นอ้อย และดินบริเวณที่ปลูกอ้อยในพื้นที่เทศบาล ตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในลำต้นอ้อย และดิน บริเวณที่ปลูกอ้อยในพื้นที่เทศบาลต าบลโนนทอง อ าเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น วิเคราะห์โลหะ หนักในดินและอ้อย ได้แก่ สารหนู (As) เหล็ก (Fe) โครเมียม (Cr) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) ตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd) แมงกานีส (Mn) ซีลีเนียม (Se) และนิกเกิล (Ni) เก็บตัวอย่างดินบริเวณ ที่ปลูกอ้อยพื้นที่เทศบาลต าบลโนนทอง อ าเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จ านวน 13 จุด ทั้งหมด 33 ตัวอย่าง น ามาเปรียบเทียบกับตามค่ามาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) และฉบับที่ 273 (พ.ศ.2546) และมาตรฐานคุณภาพดินตามกรม ควบคุมมลพิษ พบปริมาณโลหะหนักในดินดังนี้ สารหนูอยู่ในช่วง (ไม่พบ-99.507mg/kg) เหล็กอยู่ ในช่วง (ไม่พบ-159,709.248 mg/kg) โครเมียม อยู่ในช่วง (21.437-206.233 mg/kg) ทองแดง อยู่ ในช่วง (4.107-134.700 mg/kg) สังกะสี อยู่ในช่วง (ไม่พบ-340.933 mg/kg) ตะกั่วอยู่ในช่วง (ไม่ พบ-62.757 mg/kg) แมงกานีส อยู่ในช่วง (473.167- 5,859.000 mg/kg) และนิกเกิล (ไม่พบ76.029 mg/kg) ทุกจุดเก็บตัวอย่างไม่พบปริมาณแคดเมียม และซีลีเนียม อีกทั้งยังมีปริมาณทองแดง และตะกั่วไม่เกินมาตรฐาน เมื่อพิจารณาโลหะหนักในอ้อย ได้แก่ สารหนู เหล็ก โครเมียม สังกะสี แมงกานีส และ ซีลีเนียม พบว่ามีโลหะหนักดังกล่าวเกินค่ามาตรฐานทุกจุดเก็บตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม ทุกจุดเก็บตัวอย่างไม่พบ แคดเมียม และนิกเกิล
เอกสารงานวิจัย
  1. บทที่ 1
  2. บทที่ 2
  3. บทที่ 3
  4. บทที่ 4
  5. บทที่ 5
  6. ปก
  7. บทคัดย่อ
  8. ภาคผนวก ก
  9. ภาคผนวก ข
  10. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ