ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการลดการใช้สารเคมีในนาข้าวของเกษตรกรในพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
The study of decrement model for chemicals using in paddy rice farming: A case study of Pho tak subdistrict administrative organization, Pho tak district, Nong khai province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์นิธิภัทร บุญปก
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายจำนวน 8 ชนิด คือ สารหนู (As), เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), โครเมียม (Cr), ทองแดง (Cu), สังกะสี (Zn), ตะกั่ว (Pb), และแคดเมียม (Cd) 2. เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีทั้ง 8 ชนิด ชนิด คือ สารหนู (As), เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), โครเมียม (Cr), ทองแดง (Cu), สังกะสี (Zn), ตะกั่ว (Pb), และแคดเมียม (Cd) เกินค่ามาตฐานหรือไม่
คำสำคัญ
สารเคมี สารปนเปื้อนโลหะหนัก นาข้าว
บทคัดย่อย
การศึกษารูปแบบการลดการใช้สารเคมีในนาข้าวของเกษตรกรพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย จากการลงพื้นที่สำรวจ และสอบถาม คณะผู้บริหาร และตัวแทนแกนนำชุมชน เกี่ยวกับการทำการเกษตรของชุมชนในเขตพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร และพืชหลักที่ปลูกคือ ข้าว ยางพารา และพืชผักกินได้ เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งในส่วนของสารกำจัดแมลง สารกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยประเภทของสารกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรในตำบลโพธ์ตากนิยมใช้มากที่สุดคือสารกำจัดแมลงในกลุ่มสารคาร์บาเมต รองลงมาคือกลุ่มสารไปไพริดิเลียม และได้มีการตรวจสอบหา ค่าปริมาณและวิเคราะห์สารปนเปื้อนโลหะหนักในผลผลิตทางการเกษตร 10 ชนิด ได้แก่ ข้าว กะเพรา ข่า ผักแพว มะเขือเปราะ สะระแหน่ มะเขือม่วง ผักบุ้ง ชะอม และโหระพาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคายนั้น พบปริมาณสารปนเปื้อนโลหะหนักในกลุ่มสารหนู สังกะสี และทองแดง เกินค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบปริมาณสารปนเปื้อนโลหะหนักในดินบริเวณนาข้าวเป็นสารในกลุ่มเหล็ก และโครเมียมเกินค่ามาตรฐาน และยังพบปริมาณสารปนเปื้อนในน้ำผิวดิน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแมงกานีส แคดเมียม ตะกั่ว สารหนู และเหล็ก ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งสารปนเปื้อนโลหะหนักเหล่านี้มีผลตกค้างในผลผลิต ในดินปลูก และตกค้างในน้ำที่ใช้บริโภคอุปโภค ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภคโดยตรง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. กิติกรรมประกาศ
  3. บทที่1
  4. บทที่2
  5. บทที่3
  6. บทที่4
  7. บทที่5
  8. บรรณานุกรม
  9. ภาคผนวก
  10. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ