ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการขยะของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาล ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย
Guidelines about Solid Waste Management of People in the Thart Municipality, Chiangkhan District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย จิตไธสง จิตไธสง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในการจัดการขยะของเทศบาลตำบลธาตุ อำเภอเชียง-คาน จังหวัดเลย 2 เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
คำสำคัญ
แนวทางการจัดการขยะ หมายถึง การป้องกันและควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ รวมไปถึงการลดขยะที่แหล่งกำเนิด การทิ้งขยะในที่จัดไว้ให้ และการคัดแยกขยะ, ขยะหรือมูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนและครัวเรือน ยกเว้น เศษวัสดุเหลือใช้จากโรงงานซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน,ประชาชน หมายถึง ประชาชนที่มีสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ในการปกครองของเทศบาลตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย,เทศบาลตำบล หมายถึง เทศบาลตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย,ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น,ขยะรีไซเคิล คือ วัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น ขวดแก้ว ขวด พลาสติก กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม ยางรถยนต์ กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT เป็นต้น,ขยะทั่วไป คือ ขยะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร กล่องโฟมเปื้อนอาหาร เป็นต้น,ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ แบตเตอรี่โทรศัพท์ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น,การจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง หลักการในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทิ้งขยะมูลฝอย การเก็บกัก การรวบรวมมูลฝอย การขนถ่าย และการขนส่ง การแปรงรูปเพื่อการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย และการกำจัดมูลฝอย โดยจะคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดในทางสุขอนามัย ทัศนียภาพ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการยอมรับทางสังคม,ประชาชน หมายถึง คนที่มีรายชื่อในสำเนาทะเบียนบ้านในบ้านธาตุ หมู่ที่ 2 ตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและแนวทางในการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนบ้านธาตุ หมู่ 2 จำนวน 200 คน และผู้นำชุมชน 30 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป IBM SPSS Statistics Desktop 22.0 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นในการจัดการขยะของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.91, S.D=0.62) พบว่า ความคิดเห็นในการจัดการขยะของประชาชนอยู่ในระดับมากคือ เทศบาลตำบลธาตุมีนโยบายที่ให้ความสำคัญในการจัดการขยะมูลฝอย(=3.91,S.D= 0.62) ระดับปานกลาง คือ เทศบาลธาตุมีการทิ้งขยะบริเวณข้างทางจากพ่อค้าแม่ค้าที่ขายผัก ผลไม้ และจากตลาดสด (=3.36,S.D=1.11) แนวทางในการจัดการขยะของประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.98, S.D=0.69) พบว่า แนวทางในการจัดการขยะของประชาชน อยู่ในระดับมาก คือ ต้องการให้เทศบาลตำบลธาตุปรับปรุงพื้นที่ในการกำจัดขยะ (=3.98, S.D=0.69) ในระดับน้อย คือ มีการนำเอาของผุพัง มาซ่อมแซมแทนการซื้อใหม่ (=3.72, S.D=1.00) ผลการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน พบว่า ความคิดเห็นในด้านการจัดการขยะนั้น เทศบาลตำบลธาตุมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีขยะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดการขยะเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงตามเวลา และมีงบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินการจัดการขยะ ส่วนแนวทางในการจัดการขยะพบว่า ปัจจุบันชุมชนมีวิธการจัดเก็บขยะด้วยวิธีการ คัดแยกขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ แล้วนำไปกองรวมบริเวณหน้าเพื่อให้รถขนขยะนำไปกำจัด มีวิธีการกำจัดขยะด้วยวิธีการคัดแยก เช่น แยกขยะที่ขายได้ ขยะที่สามารถนำไป รีไซเคิลได้ ขยะอินทรีย์นำไปทำปุ๋ยหมักและนำไปเป็นอาหารสัตว์ ในชุมชนมีกฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการขยะ มีการจัดอบรมและให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะ
เอกสารงานวิจัย
  1. กิตติกรรมประกาศ
  2. ปก
  3. บที่1-5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ