ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการขยะของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
Guidelines for solid waste management of senior in the Phu Hor Municipality, Phu Luang District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย จิตไธสง จิตไธสง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการจัดการขยะของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการขยะของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการจัดการขยะของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Statistics Desktop 22.0 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน พบว่า 1) พฤติกรรมการลดการเกิดขยะมูลฝอยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ =3.84, S.D.=0.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยที่มีพฤติกรรมการจัดการขยะในผู้สูงอายุระดับสูงที่สุดคือ ขยะประเภทขวดพลาสติกหรือขวดแก้ว ด้านการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ (=4.45, S.D=0.74) ด้านการกำจัดขยะมูลฝอยน้อยที่สุดคือ การคัดแยกขยะสร้างความสะดวกในการจัดการขยะของชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล (=2.39, S.D=1.67) 2) แนวทางการจัดการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ =4.25,S.D.=0.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยที่มีแนวทางการจัดการขยะในกลุ่มผู้สูงอายุ ระดับสูงที่สุดคือ ต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบลภูหอจัดหาพื้นที่ในการกำจัดขยะที่เหมาะสม(=4.65, S.D=0.64) ด้านแนวทางการจัดการน้อยที่สุดคือ ใช้ถุงผ้า/ตะกร้า เวลาไปซื้อของหรือไปจ่ายตลาด (=3.72, S.D=1.00) ผลการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการขยะ เนื่องจากประชาชนบางส่วนยังขาดความรู้และทำการจัดการขยะไม่ถูกวิธี โดยส่วนใหญ่ไม่มีถังกำจัดขยะภายในชุมชน มีการลักลอบทิ้งขยะตามสถานที่สาธารณะหรือตามข้างถนน ไม่ปฏิบัติตามป้ายเตือน งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการจัดขยะไม่เพียงพอ ส่วนแนวทางการจัดการขยะพบว่า การจัดการขยะของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะมีการจัดการเองตามครัวเรือนโดยการฝังกลบหรือเผา และบางครัวเรือนก็นำไปกำจัดตามพื้นที่ของตนเองและมีบางครัวเรือนที่แยกขยะอินทรีย์ไปเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงหรือนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ บางครัวเรือนมีการคัดแยกขยะแต่ละตามประเภท 1) ขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ นำไปเป็นอาหารสัตว์ 2) ขยะทั่วไป จัดเก็บแล้วนำไปทิ้งหรือเผาในสวนหลังบ้าน 3) ขยะรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ ทำการแยกไว้เพื่อนำไปขายให้กับรถรับซื้อของเก่าเพื่อสร้างรายได้ 4) ขยะอันตรายเช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่ แพมเพิส มีการคัดแยกก่อนจะนำไปทิ้งหรือคัดแยกไว้เพื่อขายให้รถรับซื้อของเก่า
เอกสารงานวิจัย
  1. กิตติกรรมประกาศ
  2. เนื้อหา
  3. ปก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ