ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การวิจัยและพัฒนาการออกแบบลายผ้าขาวม้าร่วมสมัยเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ กลุ่มสตรีทอผ้าเทศบาลตาบลสนม อาเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ตามแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
Research and development Contemporary Pah kah mah design to create an identity for the Weaving Group Sanom Municipality, Sanom District, Surin Province Based on the economy concept by citizen engagement

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์นฤมล อินทิรักษ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบทท้องถิ่นและสภาพปัญหาในการทอผ้าของกลุ่มสตรีทอผ้า 2. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและบทเรียนการทางานที่ผ่านมาของกลุ่มสตรีทอผ้า 3. เพื่อหารูปแบบในการออกแบบลายผ้าขาวม้าที่มีเอกลักษณ์และร่วมสมัยของท้องถิ่น 4. เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสินค้าจากผ้าขาวม้าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
คำสำคัญ
ผ้าขาวม้า, เพิ่มมูลค่าสินค้า, เศรษฐกิจสร้างสรรค์
บทคัดย่อย
จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าขาวม้าและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน และผ้าขาวม้าจังหวัดสุรินทร์นั้น มีเอกลักษณ์ประจาจังหวัดคือ ผ้าลายตารางสีแดงดา เขียวเข้ม ชาวสุรินทร์มักใช้ผ้าขาวม้าในการแต่งกายประจาจังหวัด ในพิธีกรรมที่สาคัญๆ มักจะมีผ้าขาวม้า มาเกี่ยวข้องเสมอ ชาวสุรินทร์จะมีผ้าขาวม้าประจาตระกูล ผู้อาวุโสมักจะมอบผ้าขาวม้าไว้เป็นมรดก แก่ลูกหลานก่อนสิ้นบุญ ปัจจุบันมีการทอมากที่อาเภอเขวาสินรินทร์ บ้านเขวาสินรินทร์ ต่อมาได้เผยแพร่วัฒนธรรมการทอผ้าไปยังอาเภอต่างๆ ที่ใกล้เคียง อาเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือของจังหวัด เป็นอีกหนึ่งอาเภอที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าที่สืบทอดต่อๆ กันมา โดยมีการก่อตั้งกลุ่มสตรีทอผ้า หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ชมรมผู้สูงอายุโครงการบานไม่รู้โรย ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 มีสมาชิกจานวนทั้งหมดประมาณ 30 คน เป็นกลุ่มสตรีทอผ้าที่มีเฉพาะผู้สูงอายุร่วมกันทอผ้าเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม การทอผ้าของชุมชนไว้ โดยมีหน่วยงานเทศบาลตาบลสนมคอยสนับสนุนและให้การช่วยเหลือ สภาพปัญหาของกลุ่มสตรีทอผ้านั้น เนื่องจากสมาชิกเป็นกลุ่มผู้สูงวัยทาให้การออกแบบและพัฒนาลวดลายของผ้าขาวม้านั้นมีรูปแบบเดิมๆ ไม่มีความทันสมัย ขาดเอกลักษณ์ของลายผ้าประจาอาเภอ และขาดกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าขาวม้า เนื่องจากกลุ่มสตรีทอผ้าขาดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยังคงเพียงทอผ้าขาวม้าเป็นผืนตามวิถีเดิมๆ จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นจึงจาเป็นที่จะพัฒนาลวดลายของผ้าขาวม้าให้มีเอกลักษณ์และมีความร่วมสมัย โดยการนาองค์ความรู้เดิมของกลุ่มสตรีทอผ้าที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในออกแบบลวดลายและแปรรูปผลิตภัณฑ์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ สร้างเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าของผ้าขาวม้าให้กับชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ