ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาระบบกองทุนสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
System Development of Welfare Funeral Fund: A case study of Sa phang Thong Community Sub-District Khao Wong District Kalasin Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาระบบกองทุนสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน กรณีศึกษาชุมชน ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อพัฒนาระบบกองทุนสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน กรณีศึกษาชุมชน ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ
การพัฒนา, กองทุนสวัสดิการ
บทคัดย่อย
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรวัยสูงอายุในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากรโลก ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น สัดส่วนของ ผู้สูงอายุจะเพิ่มจากร้อยละ 7.2 ในปี พ.ศ. 2533 เป็นร้อยละ 9.2 ในปี พ.ศ. 2543 เป็นร้อยละ11.5 ในปี พ.ศ. 2553 และเป็นร้อยละ 15.5 ในปี พ.ศ. 2562 การที่จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี มีมากกว่าร้อยละ 10 ของ จำนวนประชากร ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการเตรียมการเพื่อรับกับสถานการณ์ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากรไทย พบว่าปัจจุบัน สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยมีแนวโน้มจำนวนและสัดส่วน ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของ ประชากรนั้น เกิดจากสัดส่วนของประชากรในวัยต่าง ๆ เมื่อจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) วัยแรงงาน (อายุ15-59 ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ60 ปีขึ้นไป) พบว่า ในระหว่าง ปีพ.ศ. 2553-2583 สัดส่วนของประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงในขณะที่สัดส่วน ของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 15.5 ในปีพ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 32.1 ในปี พ.ศ. 2583 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559) จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทำให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงสถานการณ์การมี อายุสูงเพิ่มขึ้นและกำลังเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสังคมผู้สูงอายุในการวางแผนนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะเหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุนั้น ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทาง เศรษฐกิจและสังคมมีคุณภาพและคุณค่าสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและเป็นพลังในการพัฒนา สังคม โดยกำหนดแนวทางที่สำคัญในการส่งเสริมการสร้างรายได้และการมีงานทำในผู้สูงอายุการสนับสนุนให้มี การนำความรู้และประสบการณ์ของผู้สูงอายุมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และประเทศ ตลอดจน การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในเรื่องการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม ด้านการฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินนโยบายอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2558) การฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นกิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ในการจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวผู้เสียชีวิตที่เป็นสมาชิกและมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้ เพื่อ แบ่งปันกัน ในปัจจุบันการฌาปนกิจสงเคราะห์มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดย ภาคเอกชนและการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดยส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ หรือองค์กร วิชาชีพ ซึ่งเป็นนิติ บุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ตัวอย่างการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดยภาคเอกชน เช่น การให้บริการ ขององค์กรการเงินชุมชนในรูปแบบสวัสดิการชุมชนที่มีชื่อเรียกว่าสวัสดิการเสียชีวิต เพื่อช่วยเหลือสมาชิกใน ชุมชน เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนที่ได้รับจากผลกระทบของการเสียชีวิตของสมาชิก ตัวอย่างองค์กร การเงินชุมชนที่มีสวัสดิการเสียชีวิต เช่น กองทุนสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท ของตำบลน้ำขาว จังหวัด สงขลา เมื่อสมาชิกมีการออมสัจจะครบ 180 - 5,840 วัน จะช่วยเหลือค่าทำศพตั้งแต่ 2,500 - 30,000 บาท เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการออม และวิสาหกิจชุมชนธนาคารหมู่บ้านบกห้องพัฒนา ตำบลห้วยยูง อำเภอเหนือ คลอง จังหวัดกระบี่ หากสมาชิกเสียชีวิตจะมอบพวงหรีด 1 พวง พร้อมเงินช่วยเหลือรายละไม่เกิน 18,000 บาท เป็นต้น ส่วนการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดยส่วนราชการ หน่วยงานรัฐหรือองค์กรวิชาชีพ เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ อย่างธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีการให้บริการ ฌาปนกิจสงเคราะห์เป็นบริการที่ ธ.ก.ส. มอบให้กับผู้ใช้บริการทั้งที่เป็นผู้กู้และผู้ฝากเงินเป็นกรณีพิเศษ โดย เงินสงเคราะห์ที่เรียกเก็บแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่เสียชีวิตในเดือนดังกล่าว แต่ไม่เกินอัตราที่ กำหนดในกฎกระทรวงและอาจมีการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์ไว้ล่วงหน้าประมาณ 1 ปี เพื่อสำรองจ่ายเป็นค่า จัดการศพแต่ต้องไม่เกินอัตราที่ประชุมใหญ่กำหนดและต้องกำหนดในข้อบังคับด้วย เป็นต้น ประโยชน์ของการ ฌาปนกิจสงเคราะห์นั้น สมาชิกจะได้รับการช่วยเหลือโดยมีเงินจัดการศพให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตและเมื่อมีเงิน เหลือจากการจัดการศพทำให้มีเงินใช้จ่ายในครอบครัวมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเป็นทุนการศึกษาบุตร และเป็นรากฐานให้ครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวของผู้มีรายได้ไม่มากจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่าง มากและยังถือเป็นการทำบุญร่วมกัน นับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมไทย อย่างไรก็ตาม การ ฌาปนกิจสงเคราะห์ยังคงต้องมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของแต่ละหน่วยงานที่ดูแลเพื่อความถูกต้อง โปร่งใสและมีเงินเพียงพอในการสงเคราะห์จัดการศพเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน (สำนักนโยบายพัฒนาระบบ การเงินภาคประชาชน. 2557) องค์การบริหารส่วนตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหน่วยงานหรือองค์กรของ รัฐส่วนท้องถิ่นที่ดูแลรับผิดชอบในเขตพื้นที่ชุมชนตำบลสระพังทอง ซึ่งปัจจุบันได้มีการขับเคลื่อนดำเนินงาน ด้านการจัดสวัสดิการสังคมเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นการ ดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านผู้สูงอายุตามนโยบายแห่งรัฐที่ต้องการให้ช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้สูงอายุใน ชุมชนหรือการช่วยเหลือคนชราให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเมื่อพิจารณาบริการและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่จัด อยู่ในปัจจุบัน จะพบว่า มักมุ่งเน้นบริการเชิงสงเคราะห์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในวิถีชีวิตประจำวันมิได้ให้ความ สนใจในประเด็นสำคัญที่ผู้สูงอายุจะต้องได้พบในช่วงเวลาอันใกล้คือเรื่องการตายมากนัก สวัสดิการที่จัดในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการตายมักจะเป็นบริการเกี่ยวกับการดูแลทางร่างกายและจิตใจเพื่อที่จะเตรียมตัวเตรียมใจ ของผู้สูงอายุให้พร้อมที่จะเผชิญกับการตายอย่างสงบ มีการกล่าวถึงสวัสดิการที่จะเป็นการดูแลผู้สูงอายุในเรื่อง การตายเพื่อจะให้ผู้สูงอายุได้ตายอย่างสมศักดิ์ศรีในระดับที่น้อย และบริการที่มีอยู่ด้านการสร้างหลักประกัน การตายในกลุ่มผู้สูงอายุก็มักจะเป็นการดูแลกันเองของตัวผู้สูงอายุ ตลอดจน ครอบครัวและชุมชนของผู้สูงอายุ และในหลายบริการก็จำกัดไม่เปิดโอกาสที่จะให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกล่าวถึงการ สร้างหลักประกันด้านการตายเพื่อให้เกิดการตายอย่างสมศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุในระดับที่น้อย แต่บริการด้าน หลักประกันการตายของประชาชนทั่วไปก็มีอยู่อย่างกว้างขวางรูปแบบของบริการมีทั้งรูปแบบเชิงธุรกิจคือการ ใช้รูปแบบของการทำประกันชีวิตซึ่งจะมีความเหมาะสมสำหรับประชาชนในบางกลุ่มที่มีความพร้อมทาง เศรษฐกิจและมีความมั่นคงทางรายได้ รวมทั้งรูปแบบบริการด้านหลักประกันการตายที่สำคัญในกลุ่มประชาชน ที่มักเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้สูงอายุคือการเป็นสมาชิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นที่ นิยมอย่างแพร่หลาย เป็นต้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่วิจัยเพื่อตรวจทานข้อมูลการวิจัย ของผู้วิจัยและคณะ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลสระพังทอง ยังประสบกับปัญหาในหลาย ๆ ด้านเกี่ยวกับ ระบบกองทุนสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยงานจึงมีความประสงค์ต้องการ แก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบให้มันดียิ่งขึ้นต่อไป เป็นต้น ดังนั้น จากความสำคัญที่กล่าวมาในข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย เพื่อท้องถิ่น มีวิสัยทัศน์เพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อพัฒนาการเรียน การสอน ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่นใน 42 แห่ง ทางภาคอีสานได้ร่วมมือกันทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม อันจะนำไปสู่ชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่ โดยผู้วิจัยและคณะได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยผ่าน การวิจัยเรื่อง “พัฒนาระบบกองทุนสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน กรณีศึกษาชุมชน ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ให้เกิด เป็นเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ