ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Guideline for Solid Waste Management by Community: A Case Study of Kudylard Sub-District Administrative Organization, Muang District, Ubon Ratchathani Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.วุฒิกร สายแก้ว
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ
แนวทาง, ขยะมูลฝอย.การจัดการขยะมูลฝอย, ชุมชน, การคัดแยกขยะ
บทคัดย่อย
ปัจจุบันปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี รวมทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มเช่นเดียวกัน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนมีความใส่ใจในการดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น จากการกำหนดให้ขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนของประเทศต้องให้ความสำคัญและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเป็นการเร่งด่วน และต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ครบถ้วนตั้งแต่ต้นทางจนกระทั้งถึงปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษจากขยะมูลฝอยชุมชน สถานการณ์และความรุนแรงของปัญหาด้านมลพิษขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย จากข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยที่ผ่านมา พบว่าแนวโน้มของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ทั้งนี้หากพิจารณาถึงอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของประเทศไทยก็มีแนมโน้มที่เพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นของประเทศไทยคิดเป็นปริมาณทั้งสิ้น 27.06 ล้านต้น ซึ่งคิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวันโดยขยะมูลฝอยได้รับการเก็บขนและรวบรวมเข้าสู่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการการกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นปริมาณทั้งสิ้น 9.57 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 35 ทำให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.91 สำหรับการใช้ประโยชน์ของขยะมูลฝอยในปี พ.ศ. 2559 พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์คิดเป็นปริมาณทั้งสิ้น 5.81 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21จากสถานการณ์ที่ผ่านมา นอกจากนี้พบว่ามีขยะเก่าตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยทั่วประเทศที่ยังดำเนินการจัดการไม่ถูกต้องอีกประมาณ 9.96 ล้านต้น จะเห็นได้ว่า ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงทุกปี ในขณะที่อัตราขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัด และอัตราขยะมูลฝอยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ วิกฤตปัญหาขยะมูลฝอย จึงถือเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งด้านปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ดำเนินการไม่ถูกต้องยังคงไม่ได้รับการปรับปรุง รวมทั้งในสังคมเมืองที่มีการขยายตัวสูงตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในสังคมเพิ่มขึ้นตามไป (กรมควบคุมมลพิษ, 2559) จากการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 2 มีมติที่สำคัญ ได้แก่ ให้ชาวอุบลราชธานีทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมกันจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของจังหวัดอุบลราชธานี โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ประกาศเป็นนโยบายสาธารณะเร่งด่วนของจังหวัดและติดตามการดำเนินงาน เรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ให้ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินงานจัดการขยะมูลฝอย โดยหลัก 3Rs (Reduce ใช้น้อย Reuse ใช้ซ้ำ และ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่) และคัดแยกขยะ 5 ประเภท (ขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อและขยะทั่วไปในหน่วยงาน หรือสถานที่ของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม จริงจังและต่อเนื่อง ให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการ รวมทั้งให้ภาคประชาชน และชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ตำบลกุดลาด เป็นตำบลที่สร้างรากฐานขึ้นมาพร้อมกับตั้งจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2322 มีผู้เล่าว่า มีหัวหน้าชุมชน ได้พากันอพยพมาจากหนองบัวลำภู มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดลาด เนื่องจากเป็นแหล่งทำมาหากินได้สะดวกและอุดมสมบูรณ์ ตำบลกุดลาด ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดต่อกับตำบลปทุม ตำบลกระโสบ เส้นทางผ่านทั้งตำบลประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่บนเส้นทาง รพช. สายตาลสุม–อุบลราชธานี หรือชาวบ้านเรียกว่า ถนนสมเด็จ โดยใช้นามหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 เป็นนามตำบล เหตุที่เรียกว่า “กุดลาด”เพราะมี หนอง บุ่ง กุด มาก และไหลลงสู่แม่น้ำมูล จึงเรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า “กุดลาด” ปัจจุบันมี 14 หมู่บ้าน มีลักษณะชุมชนและวิถีชีวิตเป็นกลุ่มชุมชน ในการบริหารงานพื้นที่มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำงานกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รับผิดชอบ โดยปัจจุบันมีจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการขยายตัวทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วิถีดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีการใช้ทรัพยากรรวมทั้งมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันการกำจัดขยะบางหลังคาเรือนใช้วิธีการเผากลางแจ้ง ไม่มีการคัดแยกขยะที่สม่ำเสมอ ถึงแม้หน่วยงานต่าง ๆ จะมีการรณรงค์การคัดแยก หรือการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ ที่สอดคล้องกับแนวทางนโยบายที่เกี่ยวข้อง จากปัญหาที่เกิดขึ้นที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้ทำการศึกษาเรื่องแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยมุ่งเน้นที่จะศึกษาในส่วนของทั้งหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อการจัดการขยะมูลฝอย และข้อมูลที่ได้รับจะได้นำไปสู่การศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนให้รู้จักการจัดการขยะมูลฝอยในระดับชุมชนและครัวเรือนให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต รวมทั้งการส่งเสริมให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ