ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วม ของประชาชน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
Study of suitable models for solid waste management by participation Public: A Case Study of Plak Raet Municipal Phitsanulok Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง อาจารย์กฤติมา อินทะกูล
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 2. เพื่อศึกษากลไกกฎหมายในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการจัดทำรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,ขยะ,พิษณุโลก,รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย,บริการสาธารณะ,การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลตำบลปลักแรด โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน 2. เพื่อศึกษากลไกกฎหมายในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ 3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการจัดทำรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ตัวแทนประชาชนของเทศบาลตำบลปลักแรด จำนวน 70 คน ประกอบไปด้วย ประชาชนในแต่ละชุมชนๆละ 10 คน สมาชิกสภาเทศบาลตำบลจำนวน 12 คน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านละ 1 คน คณะผู้บริหารและข้าราชการเทศบาลตำบลปลักแรดจำนวน 10 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 95 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการขยะมูลฝอยดำเนินการโดยการจัดเก็บขยะที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลทั้งการจัดเก็บขยะและการกำจัดขยะ ด้วยวิธีการฝังกลบในบ่อขยะของตนเอง โดยมีประเภทของขยะประกอบไปด้วยขยะในทุกประเภท โดยขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะอินทรีย์ที่เกิดจากครัวเรือนและภาคเกษตรกรรม ซึ่งประชาชนมีวิธีในการจัดการขยะโดยส่วนมากคือทิ้งลงในถังขยะของเทศบาล รวมไปถึงมีการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปขาย ในส่วนความรู้ความเข้าใจของประชานเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยในภาพรวม พบว่า ประชาชนมีความเข้าใจในระดับมากเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง โดยภายในชุมชนได้มีกลไกกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอย เช่น มีการห้ามเผาขยะ มีกฎระเบียบห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ รวมไปถึงได้มีการกำหนดอัตราค่าปรับสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎหมายในการจัดการขยะด้วย ผู้วิจัยสามารถเสนอแนวทางและรูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอยได้โดยเน้นรูปแบบของการดำเนินการจัดการขยะ โดยการวางแผนเพื่อลดปริมาณขยะจากต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะทำให้เกิดปริมาณขยะในการส่งเข้าสู่กระบวนการกำจัดในรูปแบบต่างให้น้อยที่สุด นอกจากนั้นต้องมีขีดความสามารถในการนำขยะมาใช้ประโยชน์ทั้งในมิติของการใช้ซ้ำและการแปรรูปใหม่ ให้มากที่สุด รวมไปถึงการแปรรูปขยะสู่ผลิตภัณฑ์หรือผลพลอยได้จากขยะ เช่น ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การใช้เป็นเชื่อเพลิง ทั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถเสนอแนวทางในการดำเนินการได้ดังต่อไปนี้ 1. การลดปริมาณขยะมูลฝอย 2. การจัดการวางระบบการรีไซเคิล ( Recycle ) ที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การแปรรูปขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และ 3. การกำหนดแนวทางในการจัดการขยะอันตรายอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่ 1-5
  3. บทคัดย่อ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ