$endsection URU Research

รายงานวิจัย

กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2559
การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากขยะทั่วไปเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มขยะชุมชน ภายใต้แผนงานวิจัย การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะเพิ่มสุขภาวะและเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์
การพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์จากขยะเพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มขยะชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์จากขยะเพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรก ศึกษาข้อมูลขยะทั่วไป พบว่าควรนำกล่องนมและกระดาษเหลือใช้จากสำนักงาน นำมาสร้างเป็นบรรจุภัณฑ์เพิ่มรายได้ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผ้าทอบ้านหนองบัว จ.น่าน จากนั้นศึกษาคุณสมบัติของกระดาษและกล่องนม โดยจะพบว่ากล่องนมมีส่วนประกอบคือ กระดาษโพลิเอทิลีน และอลูมิเนียมฟอยล์ โดยคุณสมบัติของโพลิเอทิลีนจะสามารถละลายได้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 200 ๐ C และจะแข็งตัวเมื่อได้รับความเย็นในอุณหภูมิห้อง โดยที่กระดาษเหลือใช้จากสำนักงานเมื่อนำมาสร้างเป็นบรรจุภัณฑ์ต้องมีกาวเป็นวัสดุประสานระหว่างกระดาษ ส่วนที่สองผู้วิจัยสร้างบรรจุภัณฑ์ สำหรับกลุ่มผ้าทอ ในส่วนของการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากกระดาษ ผู้วิจัยได้นำหลักการสอนให้กับนักศึกษารายวิชาเทคนิคการทำหุ่นจำลอง เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากกระดาษเหลือใช้ โดยการทดลองสามารถเลือกความหนาของกระดาษได้ตั้งแต่สูตร A-E ตามความต้องการของการนำไปใช้งาน และต้องใช้เวลาในการทำให้แห้งตามสัดส่วยนของความหนาของกระดาษ และในส่วนของการนำกล่องนมมาสร้างเป็นบรรจุภัณฑ์ ใช้เวลา 5 วินาที ใช้ความร้อน 200 ๐ C จะทำให้รูปลักษณ์ของกล่องสวยงาม กล่องนมไม่ย่น และนำแทกสินค้า ตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม และบ่งบอกกถึงข้อมูลของผลิตภัณฑ์ โดยหากทางกลุ่มใช้บรรจุภัณฑ์จากขยะจะสามารถทดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ลงได้อย่างมาก สามารถเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มขยะชุมชน
บรรจุภัณฑ์, กล่องนม, ขยะชุมชน, กลุ่มผ้าทอบ้านหนองบัว จ.น่าน