$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2561
การพัฒนารูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการเทศบาลตาบลปัว อาเภอปัว จังหวัดน่าน
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ ในพื้นที่เทศบาลตาบลปัว อาเภอปัว จังหวัดน่านข้อมูลระดับการปฏิบัติของพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการปฏิบัติของพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน เป็นประจาทุกครั้ง โดยสามารถเรียงลาดับระดับการปฏิบัติของพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนรายการข้อคาถามที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ดังนี้ ได้ขายของที่ใช้แล้ว ให้รถ/ร้านรับซื้อของเก่า(  = 1.29, S.D. = 0.462) ใช้เศษหญ้า เศษใบไม้คลุมดินมากกว่าการทิ้งลงในถังขยะ (  =1.30, S.D. = 0.490) และคัดแยกขยะที่สามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เศษกระดาษ ขวดพลาสติก เศษเหล็ก ขวดแก้วไปขาย หรือนามาใช้ใหม่ และ (  = 1.43,S.D. = 0.501)ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการขยะ พบว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่มีระดับการมีส่วนร่วมในระดับมาก โดยสามารถเรียงระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการขยะรายการข้อคาถามที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ดังนี้ ผู้ตอบได้รักษากฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการขยะของชุมชน (  = 3.85, S.D. = 0.864) ผู้ตอบเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของชุมชน (  = 3.78, S.D. = 0.768) และนาขยะที่ใช้แล้วนากลับมาใช้ใหม่  = 3.65, S.D. = 0.700)