$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2561
การพัฒนารูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
Developing Value-Adding Waste Model for Community-Associated Management of Pa Ka Sub District Administration Organization Tha Wang Pha District, Nan Province
ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในภาพรวมทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ส่วนใหญ่มีสถานะสมรส การศึกษาระดับปวส./อนุปริญญา/ปวท. ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาทด้านการจัดการขยะของชุมชน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีส่วนช่วยในการลดปริมาณขยะในครัวเรือนโดยการไม่สร้างขยะให้เพิ่มขึ้น เป็นผู้ที่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ส่วนใหญ่แยกขยะที่ขายได้และไม่ได้ก่อนทิ้ง ใช้วิธีการจัดการขยะในครัวเรือนโดยส่งต่อให้ องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบล ภายในครัวเรือนส่วนใหญ่ทิ้งขยะประเภทผัก ผลไม้ และเศษอาหาร ส่วนใหญ่มีความต้องการ ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียก พฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนภาพรวม ชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนทุกครั้ง การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการขยะ ภาพรวมชุมชนมีส่วนร่วมในด้านการจัดการขยะอยู่ในระดับมากและความต้องการการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ ประชาชนภายในชุมชนมีการการนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดความยั่งยืน รูปแบบการสร้างมูลค่าจากขยะตามความต้องการของประชาชนในชุมชนมีความต้องการ การจัดตั้งธนาคารขยะ/สหกรณ์ขยะ การนำขยะเปียกไปสร้างเป็นปุ๋ยอินทรีย์ การนำขยะแห้งสะอาดไปสู่การสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและจำหน่ายได้ และผลิตเป็นพลังงานทดแทน ด้วยการทำเป็นพลังงานเชื้อเพลิงอัดแท่ง