$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
รูปแบบการสร้างผู้ประกอบการดำเนินกิจการเพื่อสังคมสำหรับหนุนเสริมระบบบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมอบต.เมืองจัง
ผลการวิจัยจาแนกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาบริบทของการจัดการขยะของ อบต.เมืองจัง เริ่มเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะโดยกลุ่ม อสม.ต้องการจัดการขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และทาให้ชุมชนมีความสะอาด ได้รับการส่งเสริมงบประมาณจาก อบต.เมืองจังเพื่อไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะชุมชน การดาเนินงานช่วงแรกประสบปัญหาการกดราคาจากรถรับซื้อในราคาถูก ทาให้ประชาชนหมดกาลังใจในการคัดแยก คุณซอน พรมไชย อสม. คุณฟองจันทร์ จันทร์หาญ ครูเกษียณ จึงผันจึงผันตัวเองให้เป็นผู้ประกอบการรับซื้อขยะจากชุมชน โดยอาศัยหลักการค้าที่เป็น ท่านจะปลูกฝังจิตสานึก ปรับทัศนคติ เนื่องจากประชาชนมักมีทัศนคติว่าขยะ คือสิ่งของที่สกปรก ถ้ามีการจัดการทีถูกต้องก็สามารถเปลี่ยนเป็นเงิน ทาให้เกิดรายได้ให้กับตนเอง ส่วนที่สอง สร้างผู้ประกอบการรับซื้อขยะรายใหม่ ผู้วิจัยได้นาเสนอ คุณลักษณะของผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิล มีคุณลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจ มีความขยัน อดทน ประหยัด มีจิตอาสา ต้องการช่วยเหลือชุมชน มีทัศนคติที่ดีในอาชีพ มีสถานที่ประกอบธุรกิจ มีหลักการค้าที่เป็นธรรม กลุ่มสนทนแนะนา คุณรัตนาภรณ์ ศรีวัย ซึ่งมีความสนใจในการประกอบธุรกิจรับซื้อขยะรีไซเคิล ทัศนคติ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มองเรื่องการรับซื้อขยะรีไซเคิลนั้น เป็นการประกอบอาชีพที่สุจริต สามารถสร้างธุรกิจจนมีฐานะเป็นที่ยอมรับของสังคม ประกอบกับ คุณรัตนาภรณ์ ศรีวัย มีอาชีพค้าขายอาหารทะเล ที่ต้องวิ่งรถเปล่าลงไปรับอาหารทะเลจาก ชลบุรี หากนาขยะรีไซเคิลไปขายให้กับร้านรับซื้อขนาดใหญ่จะได้ราคาที่ดีกว่า จังหวัดน่าน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจ ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิล ถือเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือสังคม ดังนั้น ทาง อบต. หรือหน่วยงานราชการ ควรมีการยกย่อง เชิดชู ว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการมีกาลังใจในการประกอบอาชีพ