$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาจัดกลิ่นด้วยวัสดุท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการขยะเชิงวิกฤต
Development of Local Deodorizing Productsfor Critical Waste Management
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ พัมมิซ ไดอะทอไมต์ และลีโอนาไดต์ ที่มาจากแหล่งธรรมชาติในท้องถิ่นจังหวัดลาปางในการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในบ่อขยะฝังกลบเชิงวิกฤต โดยพัมมิซ ไดอะทอไมต์ และลีโอนาไดต์ ถูกนามาปรับปรุงประสิทธิภาพการดูดซับด้วยวิธีทางเคมีร่วมกับการเผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส มีการตรวจหาองค์ประกอบทางเคมีของสารดูดซับโดยใช้เทคนิคเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรสโคปี (XRF), ตรวจหาลักษณะสัณฐานวิทยาโดยใช้เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM), ตรวจหาการกระจายพลังงานของธาตุโดยเทคนิคการวัดการกระจายพลังงานสเปกโทรสโคปี (EDS) และการหาหมู่ฟังก์ชันโดยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรด สเปกโทรสโคปี (FTIR) การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ทาในห้องปฏิบัติการ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในการศึกษานี้ถูกสังเคราะห์จากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างโซเดียมซัลไฟด์และกรดซัลฟิวริก ความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ตรวจวัดโดยใช้เครื่องวัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ของผงพัมมิซ ไดอะทอไมต์ และลีโอนาไดต์ ได้ถูกนามาเปรียบเทียบกัน ผลปรากฏว่าไดอะทอไมต์ประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแต่ใช้เวลาดูดซับลดลงหลังการปรับปรุง