$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนาการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมตำบลน้ำตก อำเภอนาน้อย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในภาคีเครือข่าย 2) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในภาคีเครือข่าย 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในภาคีเครือข่าย และถ่ายทอดความรู้การใช้ให้กับชุมชน วิธีดาเนินงานเป็นการแบบแบบปฏิบัติการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีการจัดเวที สัมภาษณ์ เพื่อออกแบบระบบและสร้างเว็บแอพลิเคชั่น (web application) ระบบฐานข้อมูลนวัตกรรมเพื่อการวิจัยและการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในภาคีเครือข่าย ทดสอบระบบและประเมินประสิทธิภาพ จัดให้มีการอบรมการใช้งานในพื้นที่พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเข้าถึงเว็บแอพพลิเคชั่นกับเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตาบลเจดีย์ชัย องค์การบริหารส่วนตาบลบัวใหญ่ องค์การบริหารส่วนตาบลนาไร่หลวง องค์การบริหารส่วนตาบลน้าตก และองค์การบริหารส่วนตาบลพระธาตุขิงแกง และประเมินความพึงพอใจการใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่น ในการออกแบบระบบและสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นนี้ได้ประยุกต์ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ พีเอชพี (PHP language) ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML language) จาวาสคลิป (JavaScript) เจคิวรี่ (jQuery) โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL database management program) โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์อาปาเซ่ (Apache web server program) และระบบปฏิบัติการฟรีบีเอสดีสาหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (FreeBSD operating system for servers) ผลการวิจัย พบว่าได้ต้นแบบของฐานข้อมูลฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนาการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมและระบบฐานข้อมูลการประเมินติดตามเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเองเพื่อ สุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบออนไลน์ ซึ่งเว็บแอพพลิเคชั่นงานวิจัยนี้ได้จัดการเกี่ยวกับข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลบริบทชุมชน ข้อมูลพื้นฐานประชาชน ข้อมูลสุขภาพ การเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษา ข้อมูลการประกอบอาชีพ ข้อมูลแบบประเมินติดตามเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบออนไลน์ และประมวลข้อมูลเป็นสารสนเทศในรูปแบบรายงานสรุป ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนางานวิจัยที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของชุมชน การประเมินผลความพึงพอใจการใช้งานเว็บไชต์ พบว่า กลุ่มผู้ประเมินมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับดี
การจัดการสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม