$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2560
โครงการสังเคราะห์ระบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแลหลินลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์
โครงการสังเคราะห์ระบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ สำหรับการจัดการระบบธุรกิจเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาด และระบบพยากรณ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติของการผลิตในระบบวนเกษตรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ระบบบริหารจัดการและนวัตกรรมองค์ความรู้ของชุดโครงการระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล ของจังหวัดอุตรดิตถ์สำหรับการจัดการระบบธุรกิจเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาด และระบบพยากรณ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติของการผลิตในระบบวนเกษตร โดยมีโครงการวิจัยย่อยที่ต้องดำเนินการสังเคราะห์ทั้งสิ้น 8 โครงการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) การประดิษฐ์เครื่องรังวัด 3 มิติ แบบง่ายในการจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลงบนพื้นที่ปลูกทุเรียนพันธุ์หลง-หลินลับแล ตำบลบ้านด่านนาขาม จังหวัดอุตรดิตถ์ (3) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับกลไกการตลาดของทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ สู่ศูนย์กลางการค้าดิจิตอล (4) การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ภัยแล้งและเตือนภัยพื้นที่วนเกษตร (5) การพัฒนาระบบติดตามและเตือนภัยไฟป่าในพื้นที่วนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์ (6) การพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบสำหรับระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการเฝ้าติดตามปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตและภัยธรรมชาติแบบเรียลไทม์ในพื้นที่วนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์ (7) ปัจจัยการผลิตทุเรียนพันธุ์หลงลับแล-หลินลับแลแบบวนเกษตรและแบบเชิงเดี่ยวตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (8) ระบบสารสนเทศเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์ข้อมูลของเกษตรกร ผลการสังเคราะห์พบว่า 1. ระบบบริหารจัดการชุดโครงการระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์สำหรับการจัดการระบบธุรกิจเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาด และระบบพยากรณ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติของการผลิตในระบบวนเกษตรการบริหารจัดการภายในชุดโครงการมีการวางระบบบริหารจัดการโดยชุดโครงการมีหัวหน้าชุดโครงการวิจัย 2 คน ซึ่งหัวหน้าชุดโครงการคนที่ 1 ทำหน้าที่ดูรายละเอียดโครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการด้านเนื้อหา ส่วนหัวหน้าชุดโครงการคนที่ 2 ทำหน้าที่ดูรายละเอียดด้านการบริหารจัดการ โดยการบริหารจัดการภายใต้ชุดโครงการ หัวหน้าชุดโครงการจะดำเนินการร่วมกับทีมกลางของมหาวิทยาลัยในการจัดประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทวนสอบข้อมูลต่างๆ ก่อนดำเนินการจัดทำ Research Mapping ภายใต้ชุดโครงการ รวมทั้งมีการนำผลการศึกษาที่ผ่านมาวางแผนร่วมกันเพื่อพัฒนาชุดโครงการวิจัยสำหรับตอบโจทย์ของการพัฒนาระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ สำหรับการจัดการระบบธุรกิจเกษตร เพื่อลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาด และระบบพยากรณ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติของการผลิตในระบบวนเกษตร ในการดำเนินงานต่างๆ ที่ผ่านมาหัวหน้าชุดโครงการวิจัยได้มีการประชุมวางแผนร่วมกันกับทีมนักวิจัยเพื่อทำการพัฒนางานวิจัยที่สามารถเชื่อมต่อกันรวมทั้งต่อยอดงานวิจัยเดิมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยในการพัฒนาชุดโครงการวิจัยได้ยึดหลักการพัฒนางานที่ต้องมี user รองรับและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยทีมวิจัยได้มีกระบวนการเข้าพบพูดคุยหน่วยงานต่างๆ ที่จะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และ 2. นวัตกรรมองค์ความรู้ของชุดโครงการระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์สำหรับการจัดการระบบธุรกิจเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาด และระบบพยากรณ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติของการผลิตในระบบวนเกษตร จาก 8 โครงการวิจัย เกิดนวัตกรรมองค์ความรู้ที่เป็นฮาร์ดแวร์จำนวน 2 ชิ้น เว็ปไซด์จำนวน 6 เว็ปไซด์ และ แอพพลิเคชั่น จำนวน 4 แอพพลิเคชั่น
การสังเคราะห์,ระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล,ระบบพยากรณ์การแจ้งเตือนภัย