$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การวิเคราะห์พื้นที่ฝังกลบขยะตามศักยภาพเชิงพื้นที่และปริมาณขยะจากต้นทาง ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
การวิเคราะห์พื้นที่ฝังกลบขยะตามศักยภาพเชิงพื้นที่และปริมาณขยะจากต้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการบริหารจัดการขยะ โดยชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่แหล่งฝังกลบขยะองค์การบริหารส่วนตำบลป่าคา อำเภอ ท่าวังผา จังหวัดน่านที่เหมาะสม เพื่อสร้างความตระหนักสาหรับการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ชุมชนจัดการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ ปี พ.ศ. 2552 เป็นหลัก ทั้งหมด 13 ตัวแปร และการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่แหล่งฝังกลบขยะที่เหมาะสมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) โดยวิธีการ Weight-Rating ร่วมกับการตรวจสอบพื้นที่ศักยภาพจากการลงพื้นที่จริงร่วมกับการเปิดเวทีประชาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและตัวแทนคนในชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดน่านจำนวน 196 คน ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ขององค์การบริหารตำบลป่าคาที่อยู่ในอำเภอท่าวังผา มีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทาบ่อฝังกลบขยะ 16,744 ไร่ ซึ่งถ้าจังหวัดน่านยังมีขยะในปริมาณปัจจุบัน พื้นที่ที่เหมาะสมทำบ่อฝังกลบขยะที่อาเภอท่าวังผาจะเต็มภายในระยะเวลา 36 ปี ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยได้นำข้อมูล เพื่อใช้ในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการขยะในระดับครัวเรือนเพื่อเป็นการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยข้อมูลดังกล่าวได้ถูกนำใช้สำหรับการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ชุมชนจัดการเรียนรู้ในพื้นที่ต้นแบบตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จากการออกแบบการทางานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลป่าคา (อบต.ป่าคา) และเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นทาให้เกิดการนาข้อมูลจากงานวิจัยเข้าไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมซึ่งเป็นโครงการพัฒนาของ อบต.ผลจากการเก็บข้อมูลของ อบต.ป่าคา หลังจากการนำใช้ข้อมูลร่วมกับการพัฒนาวิทยากรแกนนาตามรูปแบบที่สร้างขึ้น พบว่า คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการ คัดแยกขยะมากขึ้นทำให้ปริมาณขยะของ อบต.ป่าคา มีจำนวนลดลงจาก 1,682 กิโลกรัม/สัปดาห์ ในปี 2559 เหลือ 1,047 กิโลกรัม/สัปดาห์ (ลดลง 37.75%) ซึ่งมากกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2559 สามารถตอบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง อบต.ป่าคายังสามารถลดจานวนที่รถวิ่งไปเก็บขยะจาก 4 วัน เหลือเพียง 3 วัน ทาให้ อบต. มีต้นทุนการเก็บขยะลดลงประมาณ 125,000 บาท/ปี (ร้อยละ 25)
พื้นที่ศักยภาพบ่อฝังกลบขยะ