$endsection URU Research

รายงานวิจัย

กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2553
การบ้าบัดน้้าเสียจากฟาร์มสุกรด้วยพื้นที่ชุ่มน้้าเทียมเพื่อการใช้ประโยชน์ ด้านการเกษตร
Wastewater Treatment from Swine Farm by Constructed Wetland for Application in Agricultural System
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทดลองบ้าบัดน้้าเสียและศึกษาประสิทธิภาพการบ้าบัด น้้าทิ้งจากฟาร์มสุกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยระบบบ้าบัดแบบพื้นที่ชุ่มน้้าเทียมหรือระบบบึงประดิษฐ์ ประเภทที่มีน้้าไหลเหนือผิวดินอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ต้นกกกลมและธูปฤาษีเป็นพืชบ้าบัด นอกจากนั้นยัง ท้าการศึกษาถึงการน้าน้้าเสียที่ผ่านการบ้าบัดมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยใช้ในการรดพืช 3 ชนิด คือ ต้นหอม หญ้ารูซี่ และดาวเรือง ผลการศึกษาพบว่าระบบบ้าบัดแบบพื้นที่ชุมน้้าเทียมที่ท้าการศึกษาสามารถบ้าบัดมลสารในน้้าทิ้ง จากฟาร์มสุกรได้ดีโดยเฉพาะการบ้าบัดสารอินทรีย์ ทั้งนี้พบว่าระบบพื้นที่ชุมน้้าเทียมที่ปลูกด้วยธูปฤาษีมี ประสิทธิภาพในการเพิ่มค่าออกซิเจนละลายน้้า (DO) มีค่าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 mg/l และสามารถลด ค่าความเข้มข้นของสารอินทรีย์ในรูป BOD COD TKN และ TP ได้ดี โดยมีประสิทธิภาพการบ้าบัดโดย เฉลี่ยเท่ากับ 84.34, 84.58, 93.09 และ 73.98 % ตามล้าดับ ส้าหรับปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดพบว่า การบ้าบัดด้วยระบบพื้นที่ชุมน้้าเทียมโดยใช้ต้นกกกลมและธูปฤาษีมีประสิทธิภาพในการบ้าบัดไม่แตกต่าง กัน ส้าหรับการตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในน้้าเสียนั้น พบว่าน้้าเสียทั้งก่อนและหลังการบ้าบัดมี การปนเปื้อนตะกั่ว (Pb) ทองแดง (Cu) เหล็ก (Fe) และสังกะสี (Zn) ในระดับความเข้มข้นต่้า ในส่วนของ การศึกษาถึงการน้าน้้าเสียหลังการบ้าบัดมาใช้เพื่อประโยชน์ด้านการเกษตรโดยน้าน้้าเสียหลังการบ้าบัดมา ใช้ในการรดพืชและท้าการศึกษาถึงการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และการตกค้างของโลหะหนักใน ผลผลิตเปรียบเทียบกับพืชในหน่วยควบคุมซง่ึใช้น้้าจากแหล่งน้้าธรรมชาติในการรด ผลการศึกษาพบว่าพืช ในหน่วยทดลองทั้ง 3 ชนิด ต้นหอม หญ้ารูซี่ และดาวเรืองสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีเมื่อรด ด้วยน้้าทิ้งจากฟาร์มสุกร และมีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าพืชในหน่วยควบคุม ผลการวิเคราะห์การ ตกค้างของโลหะหนักในผลผลิต พบว่าต้นหอมและหญ้ารูซี่การสะสมตะกั่วเกินค่ามาตรฐานการบริโภค คือมีการสะสมตะกั่วเฉลี่ยเท่ากับ 16.413 – 57.212 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับพืชทดลองใน หน่วยควบคุมพบว่าปริมาณตะกั่วในผลผลิตมีค่าไม่แตกต่างกัน