$endsection URU Research

รายงานวิจัย

ทุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน
2553
ความหลากหลายของไส้เดือนดินในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวและพื้นที่ใกล้เคียง
The Diversity of Terrestrial Earthworm in PhuSoi Dao National Park and Adjacent Areas
การศึกษาความหลากหลายของไส้เดือนดินในเขตอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ประกอบด้วย7 พื้นที่ คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา พื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณสำนักงานที่ทำการ เก็บตัวอย่างไส้เดือนและตัวอย่างดิน โดยวิธีการขุดและคัดแยกด้วยมือและจัดจำแนกตามลักษณะอนุกรมวิธานของ Gates (1972) และของ Sims and Eastons (1972) ตัวอย่างดินนำมาวิเคราะห์ปริมาณธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม อินทรียคาร์บอน อินทรียวัตถุและอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และความชื้นของดิน ผลการวิจัยพบว่า ความหลากหลายของไส้เดือนทั้งหมดสามารถจำแนกได้ 4 วงศ์ 37 ชนิดได้แก่ วงศ์ Glossoscolecidaeจำนวน 1 ชนิด คือ Pontoscolexcorethrurus, วงศ์Megascolecidaeจำนวน31 ชนิดวงศ์Moniligastridaeจำนวน 4 ชนิด และวงศ์ Octochaetideaจำนวน 1 ชนิด ในจำนวนนี้มีไส้เดือนที่ไม่เคยมีรายงานพบในประเทศไทยมาก่อน จำนวน 21 ชนิด สำหรับชนิดของไส้เดือนที่พบมากที่สุดคือ ไส้เดือนMetaphirehoulletiรองลงมาเป็นไส้เดือนชนิด Pontoscolexcorrethrurusคิดเป็น 13.70 และ12.50เปอร์เซ็นต์ของจำนวนไส้เดือนที่จำแนกได้ทั้งหมดตามลำดับความหนาแน่นของไส้เดือนดินในแต่ละประเภทพื้นที่ ของเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ พื้นที่สำนักงานมีความหนาแน่นมากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่ป่าสนเขาและป่าเบญจพรรณ โดยมีความหนาแน่นเท่ากับ 225.33 ตัวต่อตารางเมตรและพบไส้เดือนส่วนใหญ่เป็นไส้เดือนตัวแก่พื้นที่ที่มีความหลากหลายของชนิดไส้เดือนมากที่สุดคือ บริเวณป่าเบญจพรรณ โดยมีจำนวน 17 ชนิด รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมี 12 ชนิด และพื้นที่ป่าดิบเขา จำนวน 11ชนิดขณะที่ปัจจัยแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความหนาแน่นของไส้เดือน โดยปัจจัยที่มีผลทางบวกต่อประชากรไส้เดือนได้แก่ ปริมาณของโพแทสเซียมและอุณหภูมิของดิน
ไส้เดือนดิน อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ความหลากหลาย