ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง นวัตกรรมการแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยโดยชุมชนมีส่วนร่วมของ เทศบาลตำบลเวียง จังหวัดพะเยา
Innovation of Garbage Processing as Fertilizer by Community Involvement at Municipal Wien District, Phayao Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิภา ยงประยูร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างและทดสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมการแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่
คำสำคัญ
การแปรรูปขยะ, ปุ๋ยไส้เดือน, ขยะอินทรีย์
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและทดสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมการแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ ตามขอบเขตการวิจัย ที่ต้องการค้นหา แนวทาง/กระบวนการ/วิธีการ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างนวัตกรรมการแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ชุมชนในเขต เทศบาลตำบลเวียง,จังหวัดพะเยา ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) ที่ประกอบด้วย การค้นหารูปแบบ/แนวทางเดิมในการแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยของชุมชน ระดมแนวคิด สถานที่ใหม่ๆที่ประสบผลสำเร็จมาแล้วด้านแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยชุมชน และ การนำแนวทาง กระบวนการ วิธีการตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ในการกระตุ้นการแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยของชุมชน นำไปสู่ การเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ในรูปปุ๋ยจากขยะที่สร้างมูลค่า ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน ส่งผลให้ เกิดการลดลงของปริมาณขยะในชุมชน ตลอดจนชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ในที่สุด ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยโดยชุมชนอย่างเหมาะสม และมีส่วนร่วมในเทศบาลตำบลเวียง คือ “การเลี้ยงไส้เดือนดิน” ซึ่งเป็นรูปแบบที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในชุมชนอื่นๆ แต่คณะนักวิจัยในพื้นที่ มีความพยายามที่จะสร้างอัตลักษณ์ชุมชน ด้วยการจัดทำเป็นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน พร้อมทั้งเลี้ยงไส้เดือนดินด้วยขยะอินทรีย์ที่มีความแตกต่างกันไป ซึ่งการดำเนินงานตามรูปแบบที่ชุมชนร่วมคัดสรรนี้ ส่งผลให้มีจำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างความตระหนักกับชุมชน ปรากฏเป็นผลของการลดลงของขยะในพื้นที่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 อีกทั้งยังมีการบรรจุเรื่องการจัดทำศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การเลี้ยงไส้เดือนเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนกระบวนการ ลงในแผนปีงบประมาณของเทศบาล
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. บทความ
  3. บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ
  4. หน้าปก
  5. รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ