ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง นวัตกรรมการจัดการตนเองด้านการแปรรูปขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Self-Management Innovation in Waste Processing by Community Involvement.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิภา ยงประยูร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างนวัตกรรมการสร้างความตระหนักในการแปรรูปขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ 2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ 3. เพื่อทดสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมด้วยการแปรรูปขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่
คำสำคัญ
การแปรรูปขยะ, ชุมชนมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
แผนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมการสร้างความตระหนักในการแปรรูปขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ และพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ ตลอดจนทดสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมด้วยการแปรรูปขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ ในพื้นที่ชุมชนในเขต เทศบาลตำบลวังชิ้น จังหวัดแพร่, องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง จังหวัดแพร่, เทศบาลตำบลเวียง(บ้านทราย) จังหวัดพะเยา, เทศบาลตำบลยางเนิ้ง จังหวัดเชียงใหม่, เทศบาลตำบลวังดิน จังหวัดลำพูน และ เทศบาลตำบลวังเหนือ จังหวัดลำปาง ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) ที่ประกอบด้วย การออกแบบเครื่องมือในการลงพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในส่วนเทศบาลตำบลวังดิน จังหวัดลำพูน และ เทศบาลตำบลวังเหนือ จังหวัดลำปาง การรับความรู้เพิ่มเติมด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการเลือกประเด็น พร้อมคัดกรององค์ความรู้ที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ในเทศบาลตำบลเวียง(บ้านทราย) จังหวัดพะเยา, เทศบาลตำบลยางเนิ้ง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนการศึกษาดูงานต้นแบบที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาเป็นแรงบรรดาลใจหรือสร้างความเชื่อมั่นที่จะทำงานต่อไปจนประสบผลสำเร็จ ในเทศบาลตำบลวังชิ้น จังหวัดแพร่ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง จังหวัดแพร่ นำไปสู่รูปแบบการบริหารจัดการความตระหนักในการแปรรูปขยะ และ การเพิ่มขึ้นของจำนวนชุมชนหรือจำนวนโครงการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำวิจัย และมุ่งหวังให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ในที่สุด ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการแปรรูปขยะโดยชุมชนนั้น มีสองลักษณะคือ นวัตกรรม/อุปกรณ์/สิ่งประดิษฐ์ และองค์ความรู้/รูปแบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งการดำเนินงานตามรูปแบบที่ชุมชนร่วมคัดสรรนี้ ส่งผลให้มีจำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างความตระหนักกับชุมชน ปรากฏเป็นผลของการลดลงของขยะในพื้นที่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 อีกด้วย
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทความ
  3. รายงาน
  4. บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ