ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก อาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง
The extention of results for waste management by modeling community : A Case study of Maesook Municipality, Chae Hom District, Lampang Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วิศท์ เศรษฐกร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบให้แก่หมู่ที่ 1 บ้านแม่สุก ตาบลแม่สุก อาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขยะในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก อาเภอ แจ้ห่ม จังหวัดลาปาง 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก อาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบ ให้แก่หมู่ที่ 1 หมู่บ้านแม่สุก เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขยะในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก อาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก อาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก และประชาชนในพื้นที่ ด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) การศึกษาพบว่า พื้นที่เป้าหมายในการขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก อาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง ซึ่งได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่สุก สามารถพัฒนาการจัดการขยะของพื้นที่ตนเองได้ในทุกประเด็นการจัดการขยะจากผลการประเมินตนเองในการจัดการขยะของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ทั้งในรายประเด็นการจัดการขยะ และในภาพรวม นาไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะได้ รูปแบบการบริหารจัดการขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุกเป็นรูปแบบการทางานร่วมกันกับสถาบันทางการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแนวทางในการปฏิบัติ การดาเนินงานมุ่งเน้นในการทางานอย่างเป็นระบบ มีกรอบการดาเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ กระบวนการบริหารจัดการงานวิจัย กระบวนการเสริมบุคลากรทักษะการวิจัย เพื่อสร้าง ผลผลิต และผลลัพธ์ รวมถึงแนวทางข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะ ในชุมชนที่มีประสิทธิภาพต่อไป จากการดาเนินงานตามรูปแบบดังกล่าวส่งผลให้การจัดการขยะของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุกมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการจัดการขยะของ องค์การบริหารส่วนตาบลแม่สุก ได้แก่ ด้านระเบียบทางราชการและการบังคับ ด้านการพัฒนาการบริหาร จัดการขยะ ด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ และด้านกระบวนการของระบบราชการ
เอกสารงานวิจัย
  1. รายงาน
  2. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ