ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
Devolvement West Management for People Participation in Area Wang Plao Municipal, Kohkha District Lumpang Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.สุวรัฐ แลสันกลาง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
๓.๑ ศึกษาสภาพที่เป็นจริงในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบล วังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ๓.๒ สำรวจความต้องการ ความจำเป็นในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ๓.๓ การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชน มีส่วนร่วม ในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ๓.๔ ประเมินผลการมีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย ๑) การนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ๒) การมีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ
Devolvement West Management , Management for People Participation.
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ๒)สำรวจความต้องการ ความจำเป็นในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว ๓) การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว ๔) ประเมินผลการมีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว คือการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มี ๒ กลุ่ม (๑) ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน ๗ หมู่บ้าน จำนวน ๗ ชุมชน จำนวน ๒,๑๒๘ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๖,o๕๘ คน คิดจากประชาชนที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๕,๓๘๑ คน ใช้วิธีหากลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ๙๕% ใช้สูตรการคำนวณการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ของ Yamnae จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๓๗๒ คน เครื่องมือที่ใช้ 1) ใช้แบบสอบถาม 2) การจัดประชุมกลุ่มสนทนา 3) การจัดประชุมกลุ่มในการวางแผนกลยุทธ์ 4) แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นการจัดประชุมกลุ่มสนทนา ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ และความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ และความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกข้อมูลที่รวบรวมได้ จัดเป็นหมวดหมู่ตามกรอบการศึกษา ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) การบรรยายผลสะท้อนกลับ จากการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของชุมชนแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ๑. ผลจากการสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ ๖๖.๔ ช่วงอายุ ต่ำกว่า 20 ปี มีมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ ๒๘.๘ ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ ๒๘.๘ อาชีพ เกษตรกรรมร้อยละ ๕๓.๕ สถานภาพสมรส แต่งงาน ร้อยละ ๕๗.๓ หย่า/หม้ายน้อยสุด ร้อยละ ละ ๑๑.๘ สถานภาพครอบครัวผู้ที่เป็นคู่สมรสมีมากที่สุด ร้อยละ ๔๙.๗ ระดับรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๕,oooบาท ร้อยละ ๕๘.๓ รองลงมาน้อยกว่า ๕,oo๑-๑o,ooo บาท ร้อยละ ๓๖.๓ ประเภทครอบครัวเป็นบ้านพักอาศัยมากที่สุด ร้อยละ ๗๖.๖ ๒. ด้านความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือน พบว่าไม่เคยปฏิบัติด้านการมีส่วนร่วมในการรณรงค์หรือกิจกรรมที่ทางเทศบาล.จัดเช่น โครงการหมู่บ้านน่าอยู่ หมู่บ้านน่ามอง เป็นต้น ร้อยละ ๓๒.๘ น้อยมากในด้านการปฏิบัติตนในการไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดในที่สาธารณะ ร้อยละ ๓๖.๔ บางครั้งแจ้งปัญหาขยะมูลฝอยให้เทศบาลทราบ ร้อยละ ๕๑.๔๔6 บ่อยครั้งด้านการมีส่วนร่วมในการรับข้อมูลข่าวสาร , อบรมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยของทางราชการ ร้อยละ ๒๒.๖ และปฏิบัติเป็นประจำด้านการให้ความสำคัญในการดูแลรักษาบ้านเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ร้อยละ ๑๘.๙ ๓. การทำแผน การจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลวังพร้าว ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม(PAR) เป็นวงจรการนำเสนอประกอบด้วยการวางแผนการปฏิบัติและสังเกต และสะท้อนการปฏิบัติรวม 3วงจร โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม การระดมสมอง และกระบวนการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) ซึ่งปรากฏผลการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลวังพร้าว ๔. การประเมิน พบว่าคณะกรรมการชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมได้มีการทบทวนวิสัยทัศน์ แผนงานโครงการ การนำสู่การปฏิบัติโดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ สมาชิกในที่ประชุมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ระดมสมองและอภิปราย เพื่อหาข้อสรุปกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และ กลยุทธ์ของการบริหารได้แผนงานและโครงการฯ และแนวทางการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วม และการทบทวนการทำแผนการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลวังพร้าว สมาชิกในที่ประชุมได้ทบทวนวิสัยทัศน์ และยอมรับผลการสร้างกลยุทธ์ทางเลือกที่มี วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ โดยให้กลยุทธ์ทางเลือกอื่นๆ กำหนดเป็นแผนงานและโครงการภายใต้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีความเกี่ยวข้องกันในการดำเนินงาน มีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติของการจัดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แนวทางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วม ควรมีแนวทางทางสู่การปฏิบัติต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ