ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้ ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
Factors affecting the success in the management of community waste bank at Ban Mai Patthana Tai, Nong Pa Koa Sub-district, Doi Luang District, Chiang Rai Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.จักรชัยวัฒน์ กาวีวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความรู๎ พฤติกรรม และทัศนคติในการจัดการขยะของชุมชนในตาบลหนองปุากํอ 2. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ๎านใหมํพัฒนาใต๎ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลสาเร็จตํอการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ๎านใหมํพัฒนาใต๎
คำสำคัญ
การจัดการขยะ , ธนาคารขยะ, บ้านใหม่พัฒนาใต้, ตำบลหนองป่าก่อ
บทคัดย่อย
การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้ ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและแนวทางในการดำเนินงานธนาคารขยะชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้ ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่เป็นสมาชิกและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคารขยะในชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้ จำนวน 20 คน โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ธนาคารขยะชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของเยาวชนในสโมสรเด็กบ้านหน่อย ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนเชียงราย (พีดีเอ-มีชัย) โดยมีคุณดารินทร์ อภิวงค์งาม ประธานพัฒนาชมรมสตรีหนองป่าก่อเป็นที่ปรึกษา วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งธนาคารขยะฯ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนและต้องการให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และมีจิตอาสาที่จะพัฒนาหมู่บ้าน โดยเปิดทำการครั้งแรกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2558 มีรูปแบบของการบริหารจัดการคล้ายกับธนาคารขยะทั่ว ๆ ไป แต่แตกต่างจากที่อื่น คือคณะกรรมการทั้งหมดล้วนแต่เป็นเยาวชนในชุมชนที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ตามโครงสร้างการบริหาร มีประธานธนาคารขยะ รองประธาน เลขา เหรัญญิก และคณะกรรมการ รวมทั้งสิ้น 14 คน โดยที่ทุกคนสามารถทำงานทดแทนกันได้ในทุกตำแหน่ง มีการประชุมคณะกรรมการเดือนละครั้ง เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน วางแผนการประชาสัมพันธ์ จัดหาอุปกรณ์รองรับขยะ จัดทำบัญชี ประสานงานกับผู้ประกอบการร้านค้าของเก่าที่จะนำไปขาย ติดตามและสังเกตพฤติกรรมการทิ้งขยะของคนในชุมชนอย่างใกล้ชิด ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ้านใหม่พัฒนาใต้พบว่าประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านผู้นำ: คุณดารินทร์ อภิวงค์งามเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ เสียสละ อีกทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมองเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยผ่านทางรูปแบบของธนาคารขยะ (2) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่เป็นคณะกรรมการ: เยาวชนที่เป็นคณะกรรมการธนาคารขยะได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ การวางแผน ร่วมปฏิบัติ แสดงความคิดเห็นร่วมกัน และสามารถทำงานทดแทนกันได้ทุกตำแหน่ง (3) ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก: ได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้, บุคลากร, สถานที่ประชุม, วัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ รวมถึงงบบริหารจัดการบางส่วน และ (4) ปัจจัยในด้านแรงจูงใจ: ธนาคารขยะมีสวัสดิการที่ดีกว่าการขายขยะให้กับซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่า
เอกสารงานวิจัย
  1. รายงาน
  2. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ