ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสื่อสารรณรงค์เพื่อการใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ชุตินิษฐ์ ปานคำ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาหาแนวทางในการจัดการปัญหาขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2. เพื่อการสื่อสารรณรงค์ในการใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่ 3. เพื่อสร้างแผนปฏิบัติการร่วมกันในการจัดการปัญหาขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบ
คำสำคัญ
การสื่อสารรณรงค์, การคัดแยกขยะ, การมีส่วนร่วมของชุมชน
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่องการสื่อสารรณรงค์เพื่อการใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ใช้การวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีการรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม เวทีระดมความคิดเห็นและการสังเกตแบบไม่เป็นทางการที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารรณรงค์เพื่อการใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ดังนี้ ๑.เพื่อศึกษาหาแนวทางในการจัดการปัญหาขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่, ๒.เพื่อการสื่อสารรณรงค์ในการใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่และ ๓.เพื่อสร้างแผนปฏิบัติการร่วมกันในการจัดการปัญหาขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ๑.จากบริบทภาพรวมของชุมชนมีวิถีชีวิตที่เข้มแข็งและได้แสดงถึงความสามารถของแต่ละชุมชนที่รวมตัวกัน มีพื้นฐานของความมีจิตสำนึกที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนจึงเกิดแนวทางในการจัดการปัญหาขยะคือเน้นการมีส่วนร่วมสร้างกิจกรรม เพื่อการแก้ปัญหาทั้งปวงให้ลุล่วงไปด้วยพลังของคนในชุมชน ด้วยการสร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ข้อมูลเชิงปริมาณในด้านความรู้ความเข้าใจของชุมชนอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ได้แสดงถึงความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ในด้านกระบวนการคิดเพื่อการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจในการคัดแยกขยะในชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อและพฤติกรรมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ด้านการลงมือทำคัดแยกขยะก่อนทิ้งขยะลงที่จัดเก็บทุกครั้งอยู่ในระดับมากและมากที่สุด, ๒.การสื่อสารรณรงค์ด้วยสื่อบุคคลและสื่อสาธิตทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่ด้วยศักยภาพของผู้นำและผู้ตามที่ขับเคลื่อนไปด้วยกันแบบมีส่วนร่วม และ ๓. ได้แผนปฏิบัติการร่วมกันในการจัดการปัญหาขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนคือ กำหนดเป็นนโยบายการคัดแยกขยะของชุมชนสู่การออมผ่านธนาคารชุมชน, สร้างครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากขยะที่คัดแยกเพื่อใช้ประโยชน์และต่อยอดด้วยการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านเครือข่ายตลาดปลอดภัยเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในระดับอำเภอได้สำเร็จด้วยกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. สารบัญ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5
  8. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ