ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ห่างไกลโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับครัวเรือน : กรณีศึกษาบ้านโคก ตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
The purpose of the research to study guidelines for solid waste management. which is a survey of the wilderness area of solid waste in Ban Khok

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วัลลภ ทาทอง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านโคก ตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 1.2.2 เพื่อศึกษาและสำรวจการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านโคก ตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 1.2.3 เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านโคก ตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
คำสำคัญ
การจัดการ, พื้นที่ห่างไกล, การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เป็นการลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยในพื้นที่บ้านโคก จากการลงพื้นที่ศึกษามีปริมาณขยะทั้งหมด 205.70 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะแห้ง 100.20 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 48.71 ของขยะทั้งหมด รองลงมา คือ ขยะเปียก 99.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 48.37 ของขยะทั้งหมด, ขยะรีไซเคิล 5 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 2.43 ของขยะทั้งหมด และขยะอันตราย 1 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของขยะทั้งหมด และรูปแบบการจัดการอย่างถูกวิธีแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย โดยบ้านโคก หมู่ 6 ตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เป็นชุมชนนำร่องที่มีความสนใจ (เป็นการเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง) และทำการศึกษาด้วยวิธีการลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหา สาเหตุ การวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบขยะมูลฝอยในการจัดการมูลฝอยของชุมชน และใช้เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของหมู่บ้านจะมีปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนและในระดับชุมชน ตั้งแต่การคัดแยกประเภทขยะของคนในชุมชนที่ไม่มีการคัดแยกก่อนนำไปทิ้งและการทิ้งขยะไม่ถูกประเภทของถังขยะ และชาวบ้านนำขยะเหล่านี้ไปทิ้งในพื้นที่สาธารณะ/ป่าชุมชน การลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยในพื้นที่บ้านโคก และการศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย สามารถจำแนกประเภทขยะได้ เช่น ขยะอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ 70.70 ส่วนใหญ่เลือกตอบ เศษอาหาร/เปลือกผลไม้ คิดเป็นร้อยละ 100 ขยะรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 76.06 ส่วนใหญ่เลือกตอบโลหะต่างๆ/กระป๋องเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 38.30 ขยะทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 77.75 ส่วนใหญ่เลือกตอบถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหารม คิดเป็นร้อยละ 77.74 ขยะอันตราย คิดเป็นร้อยละ 80.00 ส่วนใหญ่เลือกตอบกระป๋องบรรจุสารเคมี/แบตเตอรี่ คิดเป็นร้อยละ 72.39 และรู้จักวิธีการกำจัดขยะการนำไปทิ้งลงในบ่อฝังกลบขยะของหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 46.20 บางรายไม่รู้จักวิธีการกำจัดขยะที่ถูกวิธีและการทิ้งในแต่ละครั้งไม่มีการคัดแยก คิดเป็นร้อยละ 36.90 ขาดบุคลากรที่มีความรู้มาแนะนำ และสภาพปัญหาในการกำจัดมูลฝอยในชุมชน เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลนามาลายังไม่มีวิธีในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง ทำให้ชุมชนกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนอย่างไม่ถูกวิธี เกิดความมักง่ายในการทิ้งขยะ ไม่เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ ขาดการมีส่วนร่วม และทิ้งขยะไม่ถูกวิธี ทำให้ยังมีกองขยะมูลฝอยทั่วชุมชน คิดเป็นร้อยละ 29.58 ส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านกลิ่นเหม็นและความเป็นระเบียบของชุมชน ปัญหาจากชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีการควบคุมดูแลในการจัดเก็บขยะมูลฝอย ขาดการประชาสัมพันธ์ในการทิ้งขยะให้ถูกที่ ชุมชนไม่มีการกำหนดสถานที่ทิ้งขยะ ขาดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และความตระหนักในสภาพปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของครัวเรือนในเขตตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย กลุ่มประชากรผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 355 คน โดยมีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.26, S.D.=0.31) มีความคิดเห็นที่ว่า การรักษาความสะอาดในชุมชนเป็นหน้าที่ของทุกคน เห็นด้วยมากที่สุด มีค่า ( x ̅ 4.78 S.D. 0.46 ) และหากไม่มีถังขยะหน้าบ้านสามารถนำขยะไปทิ้งในที่สาธารณะได้ เห็นด้วยน้อยที่สุด (มีค่า x ̅ 3.15 S.D. 1.71) ตามลำดับ
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ